Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2015-05-01
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและตําแหน่งของคลองท้ายฟันกรามล่างในผู้ป่วยชาวไทยในศูนย์ภาพถ่ายรังสีเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ภาพรังสีโคนบีมซีทีที่ครอบคลุมบริเวณท้ายฟันกรามล่าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-ปี พ.ศ. 2554 ทําการตรวจหาคลองท้ายฟันกรามล่างด้วยโปรแกรมวัน วอลลุม วิวเวอร์ หาค่าเฉลี่ยของระยะห่างระหว่างรูเปิดคลองท้ายฟันกรามล่างกับคลองขากรรไกรล่าง แผ่นกระดูกด้านแก้ม แผ่นกระดูกด้านลิ้น และด้านไกลกลางของฟันกรามซี่ที่สอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนคลองท้ายฟัน กรามล่างที่พบกับเพศและข้างของกระดูกขากรรไกรโดยสถิติการทดสอบของฟิชเชอร์ มีภาพที่ครอบคลุมบริเวณ ท้ายฟันกรามล่างจํานวน 64 ภาพ พบคลองท้ายฟันกรามล่าง 8 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 12.5 พบระยะห่างระหว่างรูเปิดคลองท้ายฟันกรามล่างกับคลองขากรรไกรล่าง แผ่นกระดูกด้านแก้ม และแผ่นกระดูกด้านลิ้น มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 12.07, 7.04 และ 5.14 มิลลิเมตร ตามลําดับ นอกจากนี้ระยะห่างระหว่างรูเปิดคลองท้ายฟันกรามล่าง กับด้านไกลกลางของฟันกรามซี่ที่สอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.90 มิลลิเมตร โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมี นัยสําคัญระหว่างเพศ และระหว่างขากรรไกรข้างซ้ายและขวา (p > 0.05) จากการศึกษานี้พบว่า ถึงแม้ว่าความชุก ใน ผู้ป่วยที่ถ่ายภาพรังสีที่ศูนย์ภาพถ่ายรังสีแห่งหนึ่งใน กทม. ที่พบคลองท้ายฟันกรามล่างค่อนข้างต่ํา (ร้อยละ 12.5) การผ่าตัดบริเวณท้ายฟันกรามล่างควรตระหนักถึงความผันแปรที่สําคัญนี้ด้วย (ว ทันต จุฬาฯ 2558;38:105-116)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.38.2.2
First Page
105
Last Page
116
Recommended Citation
พิมพ์ขาวขํา, อาทิพันธุ์; สัพพะเลข, เกศกัญญา; ประวิตรางกูร, ณัฐาภรณ์; and เศวตชัยกุล, ศิริพิมพ์
(2015)
"ความชุกและตําแหน่งของคลองท้ายฟันกรามล่างในภาพรังสีโคนบีมซีทีในผู้ป่วยชาวไทยในศูนย์ภาพถ่ายรังสีเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 38:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.38.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol38/iss2/2