•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2015-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารเรซินเหลวที่มีต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนในช่วงแรกของสารยึดติดทางทันตกรรมจัดฟันสามชนิดระหว่างแบร็กเกตและผิวเคลือบฟัน วัสดุและวิธีการ เตรียมฟันกรามน้อยจํานวน 60 ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 20 ซี่เตรียมผิวฟันด้วยกรดฟอสฟอริก ล้างน้ําและเป่าแห้งนําแบร็กเกตติดลงบนผิวฟันด้วยสารยึดติดชนิดบ่มด้วยแสงโดยกลุ่ม 1 (T) วัสดุ Transbond XT (3M Unitek, CA, USA) กลุ่ม2 (G) วัสดุ Grengloo (Ormco, Glendora, CA, USA) กลุ่ม 3 วัสดุ (P) Padlock (Reliance Orthodontic Product, Inc., Itasca, IL, USA) ในแต่ละกลุ่มถูกแบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 ซี่ กลุ่มทดลองไม่มีการทาสารเรซินเหลว (T1, G1, P1) กลุ่มควบคุมทาสาร เรซินเหลว (T2, G2, P2) ตามคําแนะนําของผู้ผลิตนําตัวอย่างกลุ่มละ 9 ชิ้นไปวัดค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือนหลังการฉายแสง 5 นาทีด้วยเครื่องทดสอบสากล ส่วนอีก 1 ชิ้น นําไปศึกษาลักษณะการแทรกซึมของเรซิน ในเคลือบฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของพันธะเฉือนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของสารยึดติดแต่ละชนิดด้วยค่าสถิติที่ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของ พันธะเฉือนในแต่ละกลุ่มด้วยค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว วัดค่าการเหลืออยู่ของสารยึดติดบนตัวฟันด้วยค่า ดัชนีการเหลืออยู่ของสารยึดติด ทดสอบด้วยค่าทางสถิตไคสแควร์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนของความแข็งแรงพันธะเฉือนของกลุ่ม T1 G1 และ P1 เท่ากับ 10.182.33 10.72+3.21 และ 17.61 23.67 เมกะปาสคาล ตามลําดับกลุ่ม T2 G2 P2 เท่ากับ 12.12 3.29 11.94 + 3.20 และ 10.44 + 3.47 เมกะปาสคาล ตามลําดับ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่าง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในสารยึดติดชนิดเดียวกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างสารยึดติดสามชนิดทั้งในกลุ่มทดลองและควบคุมดัชนีการเหลืออยู่ของสารยึดติดในแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกัน ลักษณะการแทรกซึมของเรซินในผิวฟันพบว่ากลุ่มที่ไม่มีการทาสารเรซินเหลวมีปริมาณการแทรกซึมของเรซินในเคลือบฟันน้อยและตื้นกว่ากลุ่มที่มีการทาสารเรซินเหลวในขั้นตอนการยึดติดแบร็กเกต สรุป การทาสารเรซินเหลวในขั้นตอนการยึดติดแบร็กเกตไม่มีผลต่อความแข็งแรงพันธะเฉือนในช่วงแรกของสารยึดติดทั้งสามชนิดที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.38.1.2

First Page

11

Last Page

20

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.