•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2015-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ ศึกษาผลของซีพีพี เอซีพีและโนวามินต่อการต้านทานการสึกกร่อนจากกรดซิตริกบนผิวเคลือบฟัน ที่ปกคลุมด้วยแผ่นคราบน้ำลาย วัสดุและวิธีการ สร้างแผ่นคราบน้ําลายที่ผิวเคลือบฟันขนาด 2 x 2 x 2 มิลลิเมตร จํานวน 36 ชิ้นงาน โดยนําไปยึดติดในช่องปากของอาสาสมัคร 1 คน เป็นเวลา 2 ชั่วโมง นําชิ้นงานออกมาแบ่ง 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ชิ้นงาน คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มซีพีพี เอซีพี และกลุ่มโนวามิน โดยทาซีพีพีเอชพีหรือโนวามินที่ผิวเคลือบฟันของ กลุ่มทดลองทิ้งไว้ 3 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ําปราศจากอิออน จากนั้นนําชิ้นงานทั้งสามกลุ่มไปแช่ในกรดซิตริกความเข้มข้นร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 60 วินาที วัดปริมาณการละลายออกของแคลเซียมอิออนในสารละลายด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ ส่วนชิ้นงานนําไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ปริมาณแคลเซียมอิออนที่ละลายออกมา (หน่วยเป็นมิลลิกรัม ต่อลิตร) ของกลุ่มควบคุม กลุ่มซีพีพี เอซีพี และกลุ่มโนวามิน คือ 23.65 (7.80) 29.76 (6.55) 45.90 (9.61) ตามลําดับกลุ่มโนวามิน มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มซีพีพี- เอซีพี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกลุ่มควบคุมและกลุ่มซีพีพี เอซีพี มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุป ปริมาณแคลเซียมอิออนที่ละลายออกมาเมื่อแช่ในกรดซิตริกของกลุ่มโนวามินมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มซีพีพีเอชพีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยผลจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดยืนยันว่าสารคืนแร่ธาตุทั้งสองชนิดสามารถต้านทานการสึกกร่อนจากกรดซิตริกบนผิวเคลือบฟันที่ปกคลุมด้วยแผ่นคราบน้ําลายได้

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.38.1.1

First Page

1

Last Page

10

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.