Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2015-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ ศึกษาผลของซีพีพี เอซีพีและโนวามินต่อการต้านทานการสึกกร่อนจากกรดซิตริกบนผิวเคลือบฟัน ที่ปกคลุมด้วยแผ่นคราบน้ำลาย วัสดุและวิธีการ สร้างแผ่นคราบน้ําลายที่ผิวเคลือบฟันขนาด 2 x 2 x 2 มิลลิเมตร จํานวน 36 ชิ้นงาน โดยนําไปยึดติดในช่องปากของอาสาสมัคร 1 คน เป็นเวลา 2 ชั่วโมง นําชิ้นงานออกมาแบ่ง 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ชิ้นงาน คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มซีพีพี เอซีพี และกลุ่มโนวามิน โดยทาซีพีพีเอชพีหรือโนวามินที่ผิวเคลือบฟันของ กลุ่มทดลองทิ้งไว้ 3 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ําปราศจากอิออน จากนั้นนําชิ้นงานทั้งสามกลุ่มไปแช่ในกรดซิตริกความเข้มข้นร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 60 วินาที วัดปริมาณการละลายออกของแคลเซียมอิออนในสารละลายด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ ส่วนชิ้นงานนําไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ปริมาณแคลเซียมอิออนที่ละลายออกมา (หน่วยเป็นมิลลิกรัม ต่อลิตร) ของกลุ่มควบคุม กลุ่มซีพีพี เอซีพี และกลุ่มโนวามิน คือ 23.65 (7.80) 29.76 (6.55) 45.90 (9.61) ตามลําดับกลุ่มโนวามิน มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มซีพีพี- เอซีพี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกลุ่มควบคุมและกลุ่มซีพีพี เอซีพี มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุป ปริมาณแคลเซียมอิออนที่ละลายออกมาเมื่อแช่ในกรดซิตริกของกลุ่มโนวามินมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มซีพีพีเอชพีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยผลจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดยืนยันว่าสารคืนแร่ธาตุทั้งสองชนิดสามารถต้านทานการสึกกร่อนจากกรดซิตริกบนผิวเคลือบฟันที่ปกคลุมด้วยแผ่นคราบน้ําลายได้
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.38.1.1
First Page
1
Last Page
10
Recommended Citation
พจน์เลิศอรุณ, สวัสดิ์ and สกุลณะมรรคา, รังสิมา
(2015)
"ผลของสารคืนแร่ธาตุต่อการสึกกร่อนจากกรด ของผิวเคลือบฟันที่ปกคลุมด้วยแผ่นคราบน้ำลาย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 38:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.38.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol38/iss1/1