Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2014-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความตรงและความเที่ยงของการดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมของแบบประเมิน CPQ11-14 และเพื่อหาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากกับสภาวะสุขภาพช่องปากในเด็กประถมศึกษา วัสดุและวิธีการ นําแบบสอบถาม CPQ11-14 มาดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมจนได้ฉบับภาษาไทย แล้วทดสอบ ความตรงเฉพาะหน้า วิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้าง จัดกลุ่มใหม่เป็น 4 องค์ประกอบคือ ด้านจิตใจและสังคมความเจ็บปวดและไม่สะดวกสบาย การสนทนาสื่อสารกับผู้อื่น และการเรียน ร่วมกับการทดสอบความเที่ยงภายใน ความเที่ยงภายนอก และความตรงตามสภาวะ นําไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 481 คน แสดงคะแนน CPQ11-14 รวมแล้วหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากกับฟันผุและเหงือกอักเสบ ผลการศึกษา เด็กร้อยละ 96.85 รับรู้ผลของสภาวะช่องปากต่อคุณภาพชีวิตโดยมี คะแนน CPQ11-14 รวมเฉลี่ย 10.11 +8.33 คะแนน (คะแนนเต็ม 120) ร้อยละ 98.70 มีฟันแท้ผุ ประสบการณ์ฟันแท้ 12.44 ด้าน/คน ฟันผุ ระดับเริ่มต้น 10.48 ด้าน/คน และฟันผุระดับรุนแรง 1.53 ด้าน/คน คุณภาพชีวิตของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับ ความชุกและความรุนแรงของฟันผุในทุกองค์ประกอบ ด้านที่ได้รับผลมากสุดคือการสนทนาสื่อสารกับผู้อื่น ส่วน ด้านความเจ็บปวดและไม่สะดวกสบายได้รับผลเมื่อมีฟันผุระดับรุนแรงซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนในที่สุด เด็กร้อยละ 99.54 มีเหงือกอักเสบแต่ไม่พบความสัมพันธ์กับคะแนน CPQ11-14 ใด ๆ เลย สรุป แบบประเมิน CPQ11-14 ที่ได้จากการดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมสามารถประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ ช่องปากของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาได้ ระดับการรับรู้ถึงผลต่อคุณภาพชีวิตแปรผันตามระดับความรุนแรงของฟันผุ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:327-340)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.37.3.7
First Page
327
Last Page
340
Recommended Citation
นวนศรี, ธิดารัตน์ and ฐิตโสมกุล, ทรงชัย
(2014)
"การดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมของแบบประเมินCPQ11-14 เพื่อวัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษา,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 37:
Iss.
3, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.37.3.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol37/iss3/7