Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2014-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาข้อมูลมาตรฐานของสัดส่วนและอัตราส่วนของฟันหน้าที่ทันตแพทย์ไทยสามารถนํามาใช้ในการออกแบบฟันหน้า วัสดุและวิธีการ รูปรอยยิ้มซึ่งถูกนํามาตกแต่งด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพโดยปรับภาพอัตราส่วนความกว้างต่อ ความยาวของฟันหน้า ให้มีลักษณะ 3 รูปแบบ ได้แก่ ฟันปกติ (ร้อยละ 78) ฟันยาว (ร้อยละ 71) และฟันสั้น (ร้อยละ 87) ซึ่งในแต่ละอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวนั้น สัดส่วนฟันหน้าต่อฟันข้างต่อฟันเขี้ยวจะถูกปรับแต่ง เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ สัดส่วนทองคํา สัดส่วน 70 อาร์อีดี และสัดส่วนเพรสตัน รูปรอยยิ้มที่แตกต่างกันถูกนํามา ทําเป็นแบบสํารวจเป็นคู่ 18 คู่และจัดให้ทันตแพทย์ไทย 242 คน ทําแบบสอบถามเลือกรูปที่ชอบระหว่างคู่นั้น ๆนําผลการสารวจที่ได้มาวิเคราะห์ผลการทดสอบแบบทวินามและการทดสอบฟิชเชอร์ ผลการศึกษา ไม่พบความแตกต่างของความชอบของทันตแพทย์ไทยต่อสัดส่วนฟันหน้าบนทั้งสามลักษณะอย่างมีนัยสําคัญในกลุ่มอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวฟันแบบปกติและแบบยาว เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มสัดส่วนฟันหน้าบนลักษณะเดียวกัน พบว่าฟันที่มีอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวแบบฟันปกติได้รับความชอบสูงที่สุด และเมื่อนําปัจจัยอื่นได้แก่ สาขาวิชาที่ศึกษาต่อ เพศของทันตแพทย์ และอายุการทํางาน มาวิเคราะห์ร่วมพบว่า มีผลต่อความชอบลักษณะอัตราส่วนและสัดส่วนของฟันในบางคู่ สรุป ในกลุ่มทดลองทันตแพทย์ไทย อัตราส่วนความกว้างต่อความยาวฟันหน้า (โดยเฉพาะในกลุ่มฟันสั้น) มี อิทธิพลต่อความชอบในรอยยิ้มมากกว่าสัดส่วนฟันหน้าต่อฟันข้างต่อฟันเขี้ยว นอกจากนี้สาขาวิชาที่ศึกษาต่อ เพศ และอายุการทํางาน ก็อาจมีผลต่อความชอบในรอยยิ้มเช่นกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:183-96)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.37.2.5
First Page
183
Last Page
196
Recommended Citation
ศุภชาติวงศ์, ชยพร and ลี้ไวโรจน์, เฉลิมพล
(2014)
"ความชอบของทันตแพทย์ไทยต่อสัดส่วนความกว้างและอัตราส่วนความกว้างต่อความสูงของฟันหน้าบน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 37:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.37.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol37/iss2/5