Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2014-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเครื่องฉายแสง 3 ชนิด ที่มีความเข้มแสงต่างกันต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนในช่วงแรกของวัสดุยึดติดทางทันตกรรมจัดฟันชนิดหนึ่ง วัสดุและวิธีการ เตรียมฟันกรามน้อยบนจํานวน 60 ปี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 15 ซี เตรียมผิวฟันด้วยผงพัมมิซ และกรดฟอสฟอริก 30 วินาที ล้างน้ําและเป่าให้แห้งนําแบร็กเกตติดลงบนผิวฟันด้วยวัสดุยึดติดชนิดบ่มด้วยแสง โดย กลุ่ม 1 เครื่องฉายแสงฮาโลเจน (เดเมตรอน แอลซี) 410 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 20 วินาที (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เครื่องฉายแสงแอลอีดี (เดเมตรอน เอทู) 1,140 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 20 วินาที กลุ่มที่ 3 เครื่อง ฉายแสงแอลอีดีชนิดเดียวกับกลุ่มที่ 2 1,140 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 6 วินาที และกลุ่มที่ 4 เครื่องฉายแสง แอลอีดี (วาโล) 2,230 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 6 วินาที นําตัวอย่างทั้งหมดไปวัดค่าความแข็งแรงของพันธะ เฉือนหลังการฉายแสง 4 นาที ด้วยเครื่องทดสอบสากลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงพันธะเฉือนใน แต่ละกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติค่าความแปรปรวนแบบทางเดียววัดค่าดัชนีการเหลืออยู่ของวัสดุติดยึดและ ทดสอบด้วยค่าทางสถิติไคสแควร์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานของความแข็งแรงของพันธะเฉือนกลุ่มที่ 1 2 3 และ 4 เท่ากับ 4.76 ± 0.99 5.35 ± 1.47 3.98 + 1.07 และ 5.69 + 1.11 เมกะปาสคาลตามลําาดับ โดยค่าเฉลี่ย ความแข็งแรงของ พันธะเฉือน กลุ่มที่ 2 และ 4 มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และพบว่า ค่าดัชนีการเหลืออยู่ของ วัสดุติดยึดในแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป การบ่มด้วยเครื่องฉายแสงแอลอีดี (วาโล) 2,230 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 6 วินาที ให้ความแข็งแรงของ พันธะเฉือนไม่แตกต่างจากการบ่มด้วยเครื่องฉายแสงฮาโลเจน (เดเมตรอน แอลซี) 410 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 20 วินาที และเครื่องฉายแสงแอลอีดี (เดเมตรอน เอทู) 1,140 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 20 วินาที (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:149-60)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.37.2.2
First Page
149
Last Page
160
Recommended Citation
ดงไพบูลย์, พรรณทิพย์; เตชะเลิศไพศาล, ไพบูลย์; พรมโสภา, นําโชค; and คณานุรักษ์, สาริกซ์
(2014)
"ผลของเครื่องฉายแสง 3 ชนิด ที่มีความเข้มแสงต่างกันต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนในช่วงแรกของวัสดุยึดติดทางทันตกรรมจัดฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 37:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.37.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol37/iss2/2