Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2014-01-01
Abstract
การประเมินการเกิดฟันผุก่อนปรากฏลักษณะทางคลินิก หรือก่อนฟันผุเดิมเปลี่ยนแปลงขนาดและความรุนแรงนั้นเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยให้บุคลากรทางทันตสาธารณสุขสามารถจําแนกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุที่แตกต่างกันซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง และการวางแผนติดตามการเกิดโรคที่แตกต่างกัน และสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมนี้เพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญและประโยชน์ของการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุและการพิจารณาเลือกปัจจัยด้านต่าง ๆ เพื่อทํานายการเกิดฟันผุในอนาคตของเด็กได้ โรคฟันผุเกิดจากหลายปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยทั่วไป ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โรคประจําตัวและยาที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก และปัจจัยเฉพาะ ได้แก่ ตัวฟัน สิ่งแวดล้อมในช่องปาก พฤติกรรม และเชื้อแบคทีเรีย การพิจารณาเลือกรูปแบบหรือแบบจําลองในการทํานายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุควร พิจารณาถึง กลุ่มอายุ ความชุกของการเกิดโรค ลักษณะของการผุ และงบประมาณที่มี ซึ่งปัจจัยฟันผุในอดีต ปัจจัยอนามัยช่องปาก และพฤติกรรมการแปรงฟันจะเป็นตัวทํานายความเสี่ยงของการเกิดฟันผุในอนาคตได้ดีที่สุดส่วนการใช้ชุดทดสอบเชื้อจะเหมาะในการทํานายฟันที่ผุเริ่มแรกในเด็ก แต่จะไม่เหมาะในการทํานายฟันผุที่ลุกลาม ไปแล้วซึ่งควรใช้ประกอบการพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:97-112)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.9
First Page
97
Last Page
112
Recommended Citation
เดชสมบูรณ์รัตน์, พลินี and พิศาลธุรกิจ, ผกาภรณ์ พันธุวดี
(2014)
"การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็ก,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 37:
Iss.
1, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol37/iss1/9