•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2014-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อการใช้และการดื้อยาปฏิชีวนะในทางทันตกรรมของอาจารย์ทันตแพทย์และนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 วัสดุและวิธีการ โดยให้อาจารย์ทันตแพทย์และนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติที่มีต่อการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อในช่องปากและการดื้อยาโดยที่แบบสอบถามไม่มีการระบุข้อมูลของผู้ตอบและนําข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา จํานวนแบบสอบถามที่นํามาวิเคราะห์ข้อมูลมี 117 ชุด จากจํานวนที่แจกทั้งหมด 200 ชุด (ร้อยละ 59) พบว่าร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสองกลุ่มคิดว่าปัญหาการดื้อยาเป็นปัญหาที่สําคัญของประเทศและ ร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีความเห็นว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายและการใช้ยาอย่างไม่ เหมาะสมเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดการดื้อยา และร้อยละ 93 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีความเห็น ว่าการกําหนดแนวทางในการสั่งจ่ายยาจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดปัญหาการดื้อยา สําหรับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันการติดเชื้อของเยื่อหุ้มหัวใจ พบว่าทั้งกลุ่มอาจารย์ทันตแพทย์และกลุ่มนิสิต ทันตแพทย์มีความเห็นไม่ต่างกัน (ร้อยละ 86 และร้อยละ 98 ตามลําดับ) แต่สําหรับในกรณีของการป้องกันการ ติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงที่ศีรษะและลําคอ ทั้งสองกลุ่มมีความเห็นต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) คือร้อยละ 36 ของกลุ่มอาจารย์และร้อยละ 60 ของกลุ่มนิสิตที่สั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้โดยรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีความรู้ในการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะในระดับที่เหมาะสม แต่ก็ยังคงมีแนวโน้มของการสั่งจ่ายยาที่มากเกินในบางกรณี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาและเกิดการดื้อยาได้เช่นกัน สรุป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาที่สําคัญในระดับประเทศแต่มีความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับปัญหาการดื้อยารวมทั้งสาเหตุและวิธีการแก้ไข การจัดให้มีแนวทางการสั่ง จ่ายยาและจัดให้มีการสอนในระดับหลังปริญญาอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดปัญหาการดื้อยา (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:83-96)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.8

First Page

83

Last Page

96

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.