•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2014-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของเนื้อเยื่อในของฟันสุนัขต่อการตัดเนื้อเยื่อในบางส่วนแล้วปิดทับด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปรับปรุงคุณภาพกับโปรรูปเอ็มทีเอ วัสดุและวิธีการ ทําการตัดเนื้อเยื่อในบางส่วนในฟันกรามน้อยของสุนัข 4 ตัว จํานวน 35 ปี และแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 ปิดด้วยโปรรูทเอ็มทีเอที่ผสมกับน้ํากลั่น (จํานวน 10 ที่) กลุ่ม 2 ปิดด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่มีบิสมัต ออกไซด์ ผสมกับแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 5 และเมททิลเซลลูโลสความเข้มข้นร้อยละ 1 (จํานวน 20 ) รองพื้นด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ และบูรณะด้วยเรซิน คอมโพสิต โดยทั้งสองกลุ่มจะทดลองที่ 7 และ 70 วัน กลุ่ม 3 เป็นกลุ่มควบคุมบวก เนื้อเยื่อในที่ตัดถูกเปิดไว้เป็นเวลา 7 วัน (จํานวน 5 ปี) ทําการถอนฟัน ภายใต้การดมยาสลบ แล้วนําฟันที่ได้ไปผ่านกระบวนการตรวจลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา เพื่อประเมินการอักเสบ และการสร้างเนื้อเยื่อแข็งของเนื้อเยื่อใน นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติระหว่างกลุ่มด้วยการ ทดสอบครัสตัล-วอลลิส และไคสแควร์ ที่ระดับนัยสําคัญน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติด้านการตอบสนองต่อการอักเสบและการหาย ระหว่างโปรรูทเอ็มทีเอและพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ทั้งในระยะเวลา 7 วัน และ 70 วัน โดยกลุ่มทดลองทั้งสองไม่พบ การอักเสบของเนื้อเยื่อใน นอกจากนี้พบว่ามีการสร้างเนื้อเยื่อแข็งที่ต่อเนื่อง ด้วยลักษณะรูปร่างและความหนาที่ ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองอย่างไรก็ตามพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มทดลอง ทั้งสองกับกลุ่มควบคุมบวก ซึ่งพบการอักเสบในระดับปานกลางถึงรุนแรง สรุป พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ของประเทศไทยที่มีบิสมัดออกไซด์ผสมกับแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลส เมื่อนํามาใช้เป็นวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อในสามารถคงความมีชีวิตของเนื้อเยื่อในของฟันได้โดยปราศจากการอักเสบส่งเสริมให้เกิดการหายและกระบวนการซ่อมแซม นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อแข็งที่มี ลักษณะไม่แตกต่างจากโปรรูปเอ็มทีเอ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:47-58)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.5

First Page

47

Last Page

58

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.