Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2014-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเรซินโคดทิ้งต่อกําลังแรงยึดถึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน วัสดุและวิธีการ ฟันกรามมนุษย์จํานวน 40 ซี่ ถูกตัดด้านบดเคี้ยวในแนวระนาบเพื่อเผยให้เห็นเนื้อฟันด้วย เครื่องตัดฟันความเร็วต่ํา จากนั้นขัดผิวเนื้อฟันด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ความละเอียด 600 กริท แบ่งฟันเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 2) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้ง แล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 3) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และ 4) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี เก็บชิ้นงานทั้งหมดไว้ภายใต้ความชื้น สัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง นําชิ้นงานมาเตรียมเป็นรูปมินิดัมเบลล์ (10 ชิ้นตัวอย่างต่อกลุ่มการทดสอบ) และทดสอบค่ากําลังแรงยึดดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงแบบสากล ด้วยความเร็ว หัวจับ 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา ค่ากําลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่าเท่ากับ 9.59 + 3.65 และ 5.54 + 2.07 เมกะปาสคาล ตามลําดับส่วนกลุ่ม 3 และ 4 มีค่าเท่ากับ 17.03 + 2.93 และ 8.81 + 3.85 เมกะปาสคาล ตามลําดับ วิเคราะห์ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่าค่ากําลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงที่สุดและแตกต่างจากกลุ่มที่เหลืออีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) และค่ากําลังแรงยึดดึง ของกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนค่ากําลังแรงยึดถึงระหว่างกลุ่มที่ 1 กับ กลุ่มที่ 4 และค่ากําลังแรงยึดถึงระหว่างกลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 4 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) ความล้มเหลวของชิ้นทดสอบ พบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 3 เกิดระหว่างชั้นยึดโดยมีเรซินซีเมนต์ หลงเหลือบนเนื้อฟัน ขณะที่ร้อยละ 60 ของกลุ่มที่ 2 และร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 4 เกิดระหว่างชั้นเรซินโคดทิ้งกับ เรซินซีเมนต์โดยมีเรซินซีเมนต์เหลือบนชั้นเรซินโคดทิง สรุป ค่ากําลังแรงยึดดึงของเนื้อฟันกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และพานาเวียเอฟทูมีค่าสูงกว่ากลุ่ม เนื้อฟันที่ผ่านการเคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยเรซินซีเมนต์ทั้งสองชนิด (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:25-38)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.3
First Page
25
Last Page
38
Recommended Citation
บัญญัติศรีสกุล, กฤษณะ and ธํารงค์อนันต์สกุล, นิยม
(2014)
"ผลของเรซินโคตทิ้งต่อกําลังแรงยึดดึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 37:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol37/iss1/3