Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2014-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมระดับจุลภาคที่ขอบเคลือบฟันและเนื้อฟันก่อนและหลังทําเทอร์โมไซคลิงของคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองกับการใช้เรซินคอมโพสิตร่วมกับสารบอนด์ดึง วัสดุและวิธีการ ฟันกรามน้อยที่ถูกถอนจํานวน 96 ที่ผ่านการเตรียมโพรงฟันคลาสไฟว์ด้านใกล้แก้ม (1 - 96) ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม (n = 24) : 1. เวอร์ทิสโฟลว์ 2. เวอร์ทิสโฟลว์ + ออปติบอนด์ออลอินวัน 3. พรีมิสโฟลว์ + ออปติบอนด์ออลอินวัน 4. พรีมิส + ออปติบอนด์ออลอินวัน โดยฟันที่ผ่านการบูรณะแล้วจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย (n = 12) คือกลุ่มที่ไม่ทําเทอร์โมไซคลิงและกลุ่มที่ทําเทอร์โมไซคลิง (1,000 รอบ) จากนั้นนําไปแช่ในเมทิลลีนบลู เพื่อประเมินระดับการรั่วซึมของสี แล้วทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยครัสคาลวัลลิสและแมนวิทนียู (p<0.05) ผลการศึกษา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของการรั่วซึมที่ขอบเคลือบฟันของวัสดุทั้ง 4 กลุ่มทั้งก่อนและ หลังการทําเทอร์โมไซคลิง (p-0.067 และ p-0.397 ตามลําดับ) ขณะที่เวอร์ทิสโฟลว์มีการรั่วซึมที่ชอบเนื้อฟันสูง กว่าวัสดุกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสําคัญทั้งก่อนและหลังเทอร์โมไซคลิง (p < 0.000 และ p = 0.001 ตามลําดับ) โดยการ ทําเทอร์โมไซคลึงไม่มีผลต่อการรั่วซึมระดับจุลภาคอย่างมีนัยสําคัญ สรุป คอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองมีการรั่วซึมระดับจุลภาคที่ขอบเคลือบฟันไม่แตกต่างจากการใช้เรซินคอมโพสิตร่วมกับสารบอนด์ติง แต่มีการรั่วซึมระดับจุลภาคที่ขอบเนื้อฟันสูงกว่าอย่างมีนัยสําคัญซึ่งการใช้สารบอนด์ดึงร่วมกับคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองอาจเป็นทางเลือกเพื่อช่วยลดการรั่วซึมระดับ จุลภาคที่เนื้อฟันได้ โดยการทําเทอร์โมไซคลิงไม่มีผลต่อการการรั่วซึมระดับจุลภาค (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:15-24)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.2
First Page
15
Last Page
24
Recommended Citation
หทัยอารีย์รักษ์, กอบกฤษณ์; พูลทอง, สุชิต; and มหาโภคา, เอกมน
(2014)
"การประเมินการรั่วซึมระดับจุลภาคของคอมโพสิต ชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองในโพรงฟันคลาสไฟว์ : ผลของเทอร์โมไซคลิงและสารบอนด์ดึง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 37:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol37/iss1/2