•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2014-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการรั่วซึมระดับจุลภาคของสารยึดติดระหว่างผิวฟันที่ไม่มีการปนเปื้อนน้ําลายกับผิวฟันที่มีการกําจัดการปนเปื้อนนั้นด้วยสารไพรเมอร์ของระบบสารยึดติดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟันคลาสไฟว์บนผิวฟันกรามน้อยด้านใกล้แก้มจํานวน 108 ซี่ แบ่งเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการปนเปื้อนของออปติบอนด์ เอฟแอล ออปติบอนด์ เอ็กซ์ทีอาร์ ออปติบอนด์ ออลอินวัน (กลุ่ม FC XC AC ตามลําดับ) กลุ่มที่มีการปนเปื้อนของน้ําลายและกําจัดด้วยสารไพรเมอร์ก่อนการฉายแสงของสาร ยึดติดทั้ง 3 ชนิด (กลุ่ม FB XB AB ตามลําดับ) และกลุ่มที่มีการปนเปื้อนของน้ําลายและกําจัดหลังการฉายแสง ของสารยึดติดทั้ง 3 ชนิด (กลุ่ม FA XA AA ตามลําดับ) บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิต (พรีมิส สีเอ 3 บอดี้) ขัดด้วยแผ่นซอฟเฟลกซ์ จําลองการใช้งานด้วยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แล้วแช่ในสารละลายเมทิลีนบลู ตัดฟัน ตามแนวแกนฟัน และประเมินการรั่วซึมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ด้วยคะแนน 5 ช่วง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติคริสคัลวาลิส และแมนวิทนี่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา การรั่วซึมระดับจุลภาคบริเวณเคลือบฟันและเนื้อฟันของกลุ่ม FB และ FA มีค่ามัธยฐานมากกว่า ของกลุ่ม FC อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนค่ามัธยฐานการรั่วซึมระดับจุลภาคของกลุ่ม XB และ XA นั้นพบว่าเฉพาะบริเวณเคลือบฟันเท่านั้นที่มีค่ามากกว่ากลุ่ม XC อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในขณะที่ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบค่ามัธยฐานการรั่วซึมของกลุ่ม AC AB AA ทั้งส่วนเคลือบฟันและเนื้อฟัน สรุป ในการศึกษาครั้งนี้ การปนเปื้อนน้ําลายในขั้นตอนการเตรียมผิวฟันด้วยออปติบอนด์ เอฟแอลไม่สามารถ แก้ไขได้ด้วยสารไพรเมอร์ของสารยึดติดนี้ ส่วนออปติบอนด์ เอ็กซ์ทีอาร์สามารถแก้ไขการปนเปื้อนน้ําลายได้ในส่วนของเนื้อฟันเท่านั้น สําหรับออปติบอนด์ ออลอินวันนั้นพบว่าไม่ว่าการปนเปื้อนน้ําลายจะเกิดขึ้นที่เคลือบฟัน หรือเนื้อฟัน เมื่อแก้ไขแล้วการรั่วซึมระดับจุลภาคนั้นไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:1-14)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.1

First Page

1

Last Page

14

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.