Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2014-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการรั่วซึมระดับจุลภาคของสารยึดติดระหว่างผิวฟันที่ไม่มีการปนเปื้อนน้ําลายกับผิวฟันที่มีการกําจัดการปนเปื้อนนั้นด้วยสารไพรเมอร์ของระบบสารยึดติดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟันคลาสไฟว์บนผิวฟันกรามน้อยด้านใกล้แก้มจํานวน 108 ซี่ แบ่งเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการปนเปื้อนของออปติบอนด์ เอฟแอล ออปติบอนด์ เอ็กซ์ทีอาร์ ออปติบอนด์ ออลอินวัน (กลุ่ม FC XC AC ตามลําดับ) กลุ่มที่มีการปนเปื้อนของน้ําลายและกําจัดด้วยสารไพรเมอร์ก่อนการฉายแสงของสาร ยึดติดทั้ง 3 ชนิด (กลุ่ม FB XB AB ตามลําดับ) และกลุ่มที่มีการปนเปื้อนของน้ําลายและกําจัดหลังการฉายแสง ของสารยึดติดทั้ง 3 ชนิด (กลุ่ม FA XA AA ตามลําดับ) บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิต (พรีมิส สีเอ 3 บอดี้) ขัดด้วยแผ่นซอฟเฟลกซ์ จําลองการใช้งานด้วยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แล้วแช่ในสารละลายเมทิลีนบลู ตัดฟัน ตามแนวแกนฟัน และประเมินการรั่วซึมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ด้วยคะแนน 5 ช่วง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติคริสคัลวาลิส และแมนวิทนี่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา การรั่วซึมระดับจุลภาคบริเวณเคลือบฟันและเนื้อฟันของกลุ่ม FB และ FA มีค่ามัธยฐานมากกว่า ของกลุ่ม FC อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนค่ามัธยฐานการรั่วซึมระดับจุลภาคของกลุ่ม XB และ XA นั้นพบว่าเฉพาะบริเวณเคลือบฟันเท่านั้นที่มีค่ามากกว่ากลุ่ม XC อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในขณะที่ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบค่ามัธยฐานการรั่วซึมของกลุ่ม AC AB AA ทั้งส่วนเคลือบฟันและเนื้อฟัน สรุป ในการศึกษาครั้งนี้ การปนเปื้อนน้ําลายในขั้นตอนการเตรียมผิวฟันด้วยออปติบอนด์ เอฟแอลไม่สามารถ แก้ไขได้ด้วยสารไพรเมอร์ของสารยึดติดนี้ ส่วนออปติบอนด์ เอ็กซ์ทีอาร์สามารถแก้ไขการปนเปื้อนน้ําลายได้ในส่วนของเนื้อฟันเท่านั้น สําหรับออปติบอนด์ ออลอินวันนั้นพบว่าไม่ว่าการปนเปื้อนน้ําลายจะเกิดขึ้นที่เคลือบฟัน หรือเนื้อฟัน เมื่อแก้ไขแล้วการรั่วซึมระดับจุลภาคนั้นไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:1-14)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.1
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
ตันติเลิศอนันต์, ญาณี and ศรีสวัสดิ์, ศิริวิมล
(2014)
"การรั่วซึมระดับจุลภาคของสารยึดติดหลังกําจัด การปนเปื้อนด้วยสารไพรเมอร์ที่มีฤทธิ์เป็นกรด,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 37:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol37/iss1/1