Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2013-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันเส้นใยควอตซ์ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวเดือย ฟินด้วยสารเคมี วัสดุและวิธีการ นําฟันกรามน้อยล่างแท้ซี่ที่หนึ่งของมนุษย์ที่ถอนออกมาจํานวน 45 ซี่ มาตัดส่วนตัวฟันออก โดยติดตั้งฉากกับแนวแกนฟันที่บริเวณรอยต่อของเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน เตรียมคลองรากฟันและเตรียม ช่องว่างสําหรับใส่เดือยฟันเส้นใยควอตซ์ดีทีไลท์โพสต์เบอร์ 1 แบ่งเดือยฟันออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ไม่ได้ปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยสารเคมี กลุ่มที่ 2 ถึง กลุ่มที่ 7 แช่เดือยฟันในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความ เข้มข้น 3 แบบ (ความเข้มข้นร้อยละ 24 30 และ 35) และระยะเวลาการแช่ 2 แบบ (นาน 5 นาที และ 10 นาที) กลุ่มที่ 8 แช่เดือยฟันในโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 นาน 10 นาที และกลุ่มที่ 9 แช่เดือยฟันใน กรดไฮโดรฟลูออริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 นาน 5 วินาที แล้วทาพื้นผิวเดือยฟันทุกชิ้นด้วยสารคู่ควบไซเลน จากนั้นยึดเดือยฟันกับคลองรากฟันที่เตรียมไว้ด้วยสารยึดติดเอ็กไซท์ ดีเอสซี ร่วมกับเรซินคอมโพสิตเหลวมัลติ- คอร์โฟลว์ นารากฟันแต่ละรากที่เตรียมไว้ติดบริเวณที่ใส่เดือยฟันรากละ 6 ชิ้น โดยแต่ละชิ้นมีความหนา 1 มิลลิเมตร เพื่อเป็นตัวแทนของรากฟันส่วนใกล้ตัวฟัน ส่วนกลาง และส่วนใกล้ปลายรากฟัน แล้วนํามาทดสอบค่ากําลังแรงยึด แบบผลักด้วยเครื่องทดสอบเอนกประสงค์ชนิดอินสตรอน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติความแปรปรวนแบบสองทาง และ วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณ แบบทรีย์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา การปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 30 นาน 10 นาที กรดไฮโดรฟลูออริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 นาน 5 วินาที โซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 นาน 10 นาทีและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 35 นาน 5 นาที ช่วยเพิ่มค่ากําลังแรงยึดแบบผลักแตกต่างจาก กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยบริเวณของคลองรากฟันไม่มีผลต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลัก สรุป การปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 นาน 5 วินาที และ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 35 นาน 5 นาที สามารถช่วยเพิ่มค่ากําลังแรงยึดแบบผลัก และช่วย ลดระยะเวลาการทํางานในคลินิก (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:165-76)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.36.3.3
First Page
165
Last Page
176
Recommended Citation
ศรีอ่อนเที่ยง, ปริญญาพร; อรุณประดิษฐ์กุล, ศิริพร; and บุญศิริ, อิศราวัลย์
(2013)
"ผลของการปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันเส้นใยควอตซ์ด้วยสารเคมีต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลัก,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 36:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.36.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol36/iss3/3