•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2012-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของความต้านทานการสึกกร่อนของรอยโรคจุดขาวจําลองกับรอยโรคจุด ขาวจําลองที่ถูกแทรกซึมโดยวัสดุเรซินไอคอน เมื่อสัมผัสกับเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างจากฟันกรามน้อยของมนุษย์ที่ถูกถอนจํานวน 80 ซี่ สุ่มฟันเป็น 4 กลุ่มทดลอง ดังนี้ 1) แช่เครื่องดื่มน้ําอัดลมโคล่า 2) แช่เครื่องดื่มน้ําส้มคั้น 3) แช่เครื่องดื่มเกลือแร่ หรือ 4) แช่น้ําปราศจาก ประจุ เตรียมชิ้นฟันตัวอย่างโดยตัดตัวฟันในแนวดิ่งให้ได้ชิ้นตัวอย่างด้านใกล้กลางและด้านไกลกลางเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน นําชิ้นตัวอย่างมาฝังลงในเรซิ่นหล่อใสให้ด้านแก้มอยู่ใกล้ผิวด้านนอกของเรซิ่นหล่อใส ขัดเรซิน ออกจนผิวเคลือบฟันด้านแก้มโผล่จากเรซินหล่อใส และมีพื้นที่ประมาณ 1 X 1 ตารางมิลลิเมตร นําชิ้นตัวอย่าง มาแช่ในสารละลายเพื่อสร้างรอยโรคจุดขาวจําลองของผิวเคลือบฟัน โดยให้ชิ้นที่หนึ่งที่มาจากฟันซี่เดียวกัน ใช้วัสดุเรซินจากผลิตภัณฑ์ไอคอน ส่วนชิ้นที่เหลือไม่ใช้วัสดุใด และแช่ในเครื่องดื่มแต่ละชนิดดังที่กล่าวมา โดยแช่ เครื่องดื่มก่อน 5 วินาที ตามด้วยแช่น้ําลายเทียม 5 วินาที สลับกันไปรวมทั้งหมด 10 รอบ ทําซ้ําแบบเดิมอีกสอง รอบทุก ๆ 6 ชั่วโมง วัดค่าปริมาตรและความลึกเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากการสึกกร่อนของรอยโรคจําลองโดยใช้เครื่องวัด ความหยาบพื้นผิวโปรไฟโลมิเตอร์ ทําเช่นเดิมในเครื่องดื่มแต่ละชนิด นําค่าปริมาตรและความลึกเฉลี่ยที่ได้มา ทดสอบด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวร่วมกับสถิติ การเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง กลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนที่แช่เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด มีค่าเฉลี่ยของปริมาตร และความ ลึกในการสึกกร่อนของเคลือบฟันมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนทุกกลุ่ม และพบว่ากลุ่มที่แช่ในเครื่องดื่ม โคลามีค่าเฉลี่ยของปริมาตรและความลึกในการสึกกร่อนมากที่สุด จากการทดสอบทางสถิติพบว่า การใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนและชนิดของเครื่องดื่มมีผลต่อค่าเฉลี่ยของปริมาตรและความลึกในการสึกกร่อนอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.0001) และยังเป็นปัจจัยร่วมทางสถิติ (p < 0.0001) สรุป การใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนแทรกซึมเข้าไปในรอยโรคจุดขาวจําลองไม่สามารถต้านทานการสึกกร่อนจาก เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:179-88)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.35.3.3

First Page

179

Last Page

188

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.