Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2012-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระต่อความแข็งแรงพันธะของสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทซ์ 2 ขั้นตอน (เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์) กับเนื้อฟันบริเวณผนังโพรงเนื้อเยื่อในภายหลังการฟอกสีด้วยไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ความเข้มข้นสูง (โอพัลเลสเซนส์ บูชท์) วัสดุและวิธีการ ใช้ฟันกรามน้อยบนสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยโรค และไม่เคยได้รับการบูรณะใด ๆ มาก่อน โดยตัด รากฟันออกและแบ่งครึ่งส่วนตัวฟันในแนวด้านแก้ม-ด้านลิ้น ใช้หัวกรอกากเพชรทรงสอบกรอผนังโพรงเนื้อเยื่อใน เพื่อลอกเลียนขั้นตอนการเปิดทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในในการรักษาคลองราก จากนั้นแบ่งชิ้นฟันทั้งหมดเป็น 4 กลุ่ม ทดลองได้แก่ (1) กลุ่มควบคุมซึ่งไม่ทําการฟอกสี (2) กลุ่มที่ทําการฟอกสีด้วยโอพัลเลสเซนส์ บูชท์ (3) กลุ่มที่ใช้ สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทภายหลังการฟอกสีฟัน และ (4) กลุ่มที่ใช้สารละลายคะตะเลสภายหลังการฟอกสีฟัน บูรณะวัสดุเรซินคอมโพสิตบนผิวเนื้อฟันด้วยสารยึดติดผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์ เก็บชิ้นงานไว้ภายใต้ ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนํามาทดสอบความแข็งแรง พันธะเฉือนระดับจุลภาคของสารยึดติดกับเนื้อฟัน ตรวจสอบลักษณะพื้นผิวของชิ้นงานภายหลังการแตกหักด้วยกล้องถ่ายภาพในช่องปากร่วมกับโปรแกรมแสดงภาพผ่านระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งตรวจสอบลักษณะผิวเนื้อฟันของกลุ่มทดลองต่าง ๆ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทําการฟอกสีมีค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนกับเนื้อฟัน สูงที่สุด (p < 0.001) รองลงมาเป็นกลุ่มที่ใช้สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบท และกลุ่มที่ใช้สารละลายคะตะเลส ภายหลังการฟอกสีฟัน (p < 0.001 และ p < 0.007 ตามลําดับ) ส่วนกลุ่มที่ทําการฟอกสีฟันและบูรณะด้วยเรซิน คอมโพสิตทันที มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะเฉือนน้อยกว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.0035) ซึ่งส่วนใหญ่พบการแตกหักของชิ้นงานภายในชั้นสารยึดติดหรือเรซินคอมโพสิต นอกจากนี้ในกลุ่มทดลองดังกล่าว ยังพบการหลุดของเรซินคอมโพสิตจากชิ้นงานก่อนการทดสอบถึงร้อยละ 40 การตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดพบว่าชั้นสเมียร์และสเมียร์พลัคของทุกกลุ่มทดลองที่ผ่านการปรับสภาพด้วยไพรเมอร์ ของสารยึดติดผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์นั้นถูกละลายออกไปเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพบการเผยของเส้นใย คอลลาเจนได้อย่างชัดเจน สรุป สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทและสารละลายคะตะเลสสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการยึดของสารยึดติด ผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์กับเนื้อฟันที่ผนังโพรงเนื้อเยื่อในภายหลังการฟอกสีด้วยโอพัลเลสเซนส์ บูชท์ได้ แต่ไม่เท่ากับกรณีเนื้อฟันที่ไม่ได้ทําการฟอกสี โดยสารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทให้ผลที่ดีกว่าสารละลายคะตะเลสอย่างมีนัยสําคัญ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:79-92)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.35.2.1
First Page
79
Last Page
92
Recommended Citation
สัตตบรรณศุข, วรรณธนะ and พงษ์บูรณกิจ, ทรงศิริ
(2012)
"ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระต่อการยึดของสารยึดติดกับเนื้อฟันภายหลังการฟอกสี,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 35:
Iss.
2, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.35.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol35/iss2/1