Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2012-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์และศึกษาลักษณะของโครงค้ํายันคอลลาเจนที่สกัดจากหนังสุกรผสมไฮดรอกซีอะพาไทต์สําหรับการนําไปใช้เป็นโครงค้ํายันในการชักนําให้เกิดการซ่อมแซมกระดูก วัสดุและวิธีการ คอลลาเจนที่ใช้ในการเตรียมโครงค้ํายันในการศึกษานี้ สกัดได้จากการละลายหนังสุกรในกรด ร่วมกับเอนไซม์ และตกตะกอนด้วยเกลือ นําคอลลาเจนที่สกัดได้มาทําเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้น ร้อยละ 1.5 ร้อยละ 2 และร้อยละ 2.5 โดยน้ําหนักตามลําดับ แล้วผสมเข้ากับผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ ในอัตราส่วนไฮดรอกซี อะพาไทต์ต่อสารละลายคอลลาเจน 1:10 (น้ําหนักต่อปริมาตร) สารผสมของคอลลาเจนและไฮดรอกซีอะพาไทต์ ถูกทําให้เป็นโครงค้ํายันที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ําด้วยการแช่แข็งและอบแห้งเยือกแข็งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยใช้ อุณหภูมิในการแช่แข็งแตกต่างกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทําให้อุณหภูมิแช่แข็งต่ําลงอย่างช้า ๆ และกลุ่มที่ทําให้ อุณหภูมิแช่แข็งต่ําลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นทําให้โครงค้ํายันคอลลาเจนคงตัวด้วยการทําปฏิกิริยาเชื่อมขวางศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดของโครงค้ํายันคอลลาเจนที่สังเคราะห์ภายใต้สภาวะแตกต่างกันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด และศึกษาขนาดของรูพรุนด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดแสงขาว วิเคราะห์ ความแตกต่างของขนาดรูพรุนด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการศึกษา โครงค้ํายันคอลลาเจนที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีการดังกล่าว มีลักษณะคล้ายฟองน้ํา กดนิ่ม สีขาว ไม่มีกลิ่นและละลายน้ําได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อผ่านการทําปฏิกิริยาเชื่อมขวางแล้ว โครงค้ํายันมีความคงตัว มากขึ้น จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดพบว่าโครงค้ํายันมีลักษณะเป็นรูพรุน ประกอบด้วยแผ่นที่เกิดจากการอัดแน่นของเส้นใยคอลลาเจนจํานวนมากสานกันไปมา โดยมีผลึกของไฮดรอกซีอะพาไทต์ติดอยู่ที่ผนังของรูพรุนเหล่านี้ จากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของโครงค้ํายันที่เตรียมภายใต้สภาวะแตกต่างกัน (P>0.05) ในขณะที่โครงค้ํายันที่ผลิตจากคอลลาเจนที่มีความเข้มข้นเดียวกัน แต่เตรียมภายใต้สภาวะ แช่แข็งต่างกัน มีขนาดของรูพรุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) กล่าวคือ โครงค้ํายันที่ใช้ อุณหภูมิแช่แข็งต่ําลงอย่างช้า ๆ ขนาดเฉลี่ยของรูพรุนใหญ่กว่าโครงค้ํายันที่ใช้อุณหภูมิแช่แข็งต่ําลงอย่างรวดเร็ว สรุป คอลลาเจนที่สกัดได้จากหนังสุกร เมื่อนําไปผสมกับไฮดรอกซีอะพาไทต์ สามารถนําไปผลิตเป็นโครงค้ํายันที่ คงตัวได้ด้วยวิธีอบแห้งเยือกแข็งร่วมกับการทําปฏิกิริยาเชื่อมขวาง โดยลักษณะและขนาดของรูพรุนโครงค้ํายันคอลลาเจนผสมไฮดรอกซีอะพาไทต์ มีความสัมพันธ์กับความเร็วในการลดต่ําลงของอุณหภูมิในการแช่แข็ง แต่ไม่สัมพันธ์กับความเข้มข้นของสารละลายคอลลาเจนที่ใช้ในการสังเคราะห์ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:1-14)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.35.1.1
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
เผือกนาโพธิ์, สุคันธา; สุทธิบุณยพันธ์, ฉันทวัฒน์; and สวัสดิสรรพ์, สมพร
(2012)
"การสังเคราะห์และศึกษาลักษณะของโครงค้ํายันคอลลาเจนที่สกัดจากหนังสุกรผสมไฮดรอกซีอะพาไทต์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 35:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.35.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol35/iss1/1