•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2011-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ ศึกษาการตกค้างของโลหะโครเมียมและนิกเกิลในกระดูก เมื่อมีการใช้หัวเจาะรากฟันเทียมเป็น ครั้งที่ 1 ครั้งที 10 และครั้งที่ 20 วัสดุและวิธีการ การศึกษานี้ใช้ขากรรไกรล่างวัว 11 ขากรรไกร แต่ละขากรรไกรตัดเป็นกระดูกชิ้นทดสอบขนาด 8 x 8 x 12 ลูกบาศก์มิลลิเมตร จํานวน 21 ชิ้น สุ่ม 1 ชิ้นเป็นชิ้นกระดูกควบคุมที่ไม่มีการเจาะกระดูก กระดูกที่ เหลืออีก 20 ชิ้นสุ่มเลือกเพื่อเจาะกระดูกเป็นลําดับที่ 1 ถึง 20 การเจาะนั้นใช้หัวเจาะรากฟันเทียม 1 ชุด ต่อ 1 ขากรรไกร หัวเจาะรากฟันเทียม 1 ชุด ประกอบด้วยหัวเจาะ 3 ตัว คือ หัวเจาะเทปเปอร์ทิป เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร (บริษัทรีเพลสซีเลคโนเบลไบโอแคร์) หัวเจาะเทปเปอร์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 มิลลิเมตร (บริษัท รีเพลสซีเลคโนเบลไบโอแคร์) และสุดท้ายใช้หัวเจาะรีมเมอร์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.7 มิลลิเมตร (โครงการวิจัย พัฒนาผลิตรากเทียมและอุปกรณ์) ทําการเจาะกระดูกชิ้นทดสอบแต่ละชิ้นด้วยหัวเจาะรากฟันเทียม 3 ตัว ตาม ลําดับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง โดยมีการควบคุมแรงกด ความเร็วของเครื่องเจาะ และความลึกของหัวเจาะ ในกระดูกให้คงที่ วัดปริมาณโครเมียมและนิกเกิลที่ตกค้างในกระดูกด้วยเครื่องแกรไฟต์เฟคเนท อะตอมมิก แอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ในชิ้นกระดูกควบคุม ชิ้นกระดูกที่ถูกเจาะเป็นลําดับที่ 1 10 และ 20 เปรียบเทียบ ปริมาณโครเมียมและนิกเกิลที่ตกค้างด้วยสถิติครูสคัล วัลลิส ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา การใช้หัวเจาะรากฟันเทียมครั้งที่ 20 ทําให้เกิดการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลในกระดูกมากที่สุด การใช้หัวเจาะครั้งที่ 1 ทําให้เกิดการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลในกระดูกน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโลหะแยกตามชนิดพบว่าการตกค้างของโครเมียมจากการใช้หัวเจาะครั้งที่ 1 มีปริมาณน้อยกว่าการใช้หัวเจาะครั้งที่ 10 และ 20 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สําหรับนิกเกิลพบว่าปริมาณการตกค้างมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติระหว่างการใช้หัวเจาะครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 20 เท่านั้น สรุป เมื่อใช้ชุดหัวเจาะรากฟันเทียมที่ประกอบด้วยหัวเจาะรากฟันเทียม 3 ตัวที่มีขนาดและบริษัทรากเทียมตามที่ กําหนดไว้ในการทดลองพบว่ามีการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลในกระดูกเมื่อใช้หัวเจาะกระดูก การใช้ชุด หัวเจาะเป็นครั้งที่ 20 จะทําให้เกิดการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลจากหัวเจาะแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้หัวเจาะครั้งแรก (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:99-108)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.34.2.3

First Page

99

Last Page

108

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.