•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2011-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ วัสดุและวิธีการ นําเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์มาปรับสภาพพื้นผิวด้วยการแช่ในสารละลายชนิดต่าง ๆ ดังนี้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% อีดีทีเอ 17% นาน 1 2 5 และ 10 นาที และกรด ไฮโดรฟลูออริก 4% นาน 15 30 และ 60 วินาที เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่มีการปรับสภาพพื้นผิวใด ๆ โดย แช่เดือยในน้ํากลั่นนาน 10 นาที และศึกษาลักษณะพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา พื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์หลังการแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 1 2 และ 5 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5.25% นาน 1 และ 2 นาที และอีดีทีเอ 17% นาน 1 และ 2 นาที พบว่าพื้น ผิวเดือยฟันไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม การปรับสภาพพื้นผิวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 10 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% นาน 5 และ 10 นาที และอีดีทีเอ 17% นาน 5 และ 10 นาที พบการทําลายอีพอก ซีเรซินเมทริกซ์ทั้งบริเวณพื้นผิวและระหว่างเส้นใยควอตซ์ ส่วนการปรับสภาพพื้นผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริก 4% นาน 15 30 และ 60 วินาทีพบการทําลายทั้งอีพอกซีเรซินเมทริกซ์และเส้นใยควอตซ์ โดยการทําลายจะรุนแรง ขึ้นสัมพันธ์กับเวลาในการแช่ในสารละลายที่นานขึ้น สรุป การปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ด้วยการแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 10 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% นาน 5 และ 10 นาที และอีดีทีเอ 17% นาน 5 และ 10 นาที ทําให้เกิดการละลาย ของอีพอกซีเรซินเมทริกซ์ทั้งบริเวณพื้นผิวและระหว่างเส้นใยควอตซ์ และเผยถึงชั้นของเส้นใยควอตซ์ (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:1-8)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.34.1.1

First Page

1

Last Page

8

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.