Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2010-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัยออกไซด์เมื่อผสมกับแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลส เปรียบเทียบกับ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่มีบิสมัยออกไซด์ผสมด้วยน้ํากลั่น และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่น วัสดุและวิธีการ เตรียมพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยจากสองบริษัทที่มีบิสมัทออกไซด์ผสมด้วย น้ํากลั่นหรือของเหลวที่มีสารเร่งการแข็งตัว (สารละลายที่มีร้อยละ 5 ของแคลเซียมคลอไรด์ และร้อยละ 1 ของ เมททิลเซลลูโลส) และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่น กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ของซีเมนต์ที่แข็งตัวแล้วด้วยการวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด วัดความเป็นกรดด่าง ระยะเวลาแข็งตัว ความทึบรังสี ความทนแรงอัด และสภาพละลายได้ วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยสถิติความแปรปรวนแบบทางเดียว (p < 0.05) ผลการศึกษา ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่นและพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่มีบิสมัยออกไซด์ผสมด้วยน้ํากลั่นหรือผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกัน ยกเว้นไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ จะมีผลึกละเอียด โดยไม่พบอนุภาคขนาดใหญ่ และมีอนุภาคของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ปะปนอยู่เล็กน้อย ความเป็นกรดด่างของซีเมนต์ทุกชนิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรก ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอจะมีความเป็นด่างสูงที่สุด(12.07) เมื่อซีเมนต์แข็งตัวเต็มที่ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสจะมีความเป็นด่างสูงกว่าพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยน้ํากลั่นอย่างมีนัยสําคัญ ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมท ทิลเซลลูโลสจะมีเวลาการก่อตัวที่สั้นกว่า แต่มีความทนแรงอัดที่ 27 วันสูงกว่าซีเมนต์กลุ่มที่ผสมน้ํากลั่นอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีสภาพละลายได้มากกว่าไวท์โปรรูท เอ็มทีเอในวันแรกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่เมื่อผ่านไป 21 วัน ซีเมนต์ทั้ง 5 กลุ่มมีสภาพละลายได้ไม่แตกต่างกัน สรุป พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัยออกไซด์เมื่อผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสจะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่น้อยกว่า แต่มีความทนแรงอัดสูงกว่าไวท์โปรรูทเอ็มทีเอซีเมนต์ที่ผสมด้วยน้ํากลั่น มีสภาพละลายได้ที่ 21 วัน และความทึบรังสีไม่แตกต่างจากไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ มีความเป็นด่างต่ํากว่าไวท์โปรรู เอ็มทีเอเล็กน้อย ซึ่งคุณสมบัติทางกายภาพโดยรวมของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเพื่อนํามาใช้แทนไวท์โปรรูทเอ็มทีเอได้ในอนาคต ( ทันต จุฬาฯ 2553;33:207-20)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.33.3.6
First Page
207
Last Page
220
Recommended Citation
วีระโสภณ, ปุณยวีร์ and พานิชอัตรา, อัญชนา
(2010)
"องค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัทออกไซด์เมื่อผสมด้วย แคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลส,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 33:
Iss.
3, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.33.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol33/iss3/6