•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2010-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลของกรดแอสคอร์บิกที่มีต่อกําลังแรงอัด เวลาแข็งตัว และการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัวของยิปซัมชนิดที่สี่ที่ดัดแปรด้วยพอลิอะคริลาไมด์ วัสดุและวิธีการ ในการทดลองนี้ได้ใช้ยิปซัมชนิดที่สี่ในปริมาณร้อยละ 97.5 และอะคริลาไมด์ร้อยละ 2.5 และใน การทดลองจะแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มการทดลอง 5 กลุ่มซึ่งใส่โปแทสเซียมเปอร์ซัลเฟตในปริมาณที่คงที่ คือ 0.005 โมลาร์ และใส่ปริมาณของกรดแอสคอร์บิกที่แตกต่างกันคือ 0.005 0.013 0.026 0.052 และ 0.105 โมลาร์ ตามลําดับ การทดสอบกําลังแรงอัด เตรียมชิ้นตัวอย่างรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร สูง 20 มิลลิเมตร กลุ่มละ 15 ชิ้นตัวอย่าง ทําการทดสอบค่ากําลังแรงอัด ด้วยเครื่องทดสอบสากลอินสตรอน รุ่น 8872 อัตราเร็วของการเคลื่อนที่ของหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาที ที่เวลา 1 ชั่วโมง 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมง ภายหลังการผสม ทําการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีบอนเฟอโรนี ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การทดสอบเวลาแข็งตัว ทําการทดสอบ ด้วยเครื่องทดสอบระยะเวลาการก่อตัวชนิดเข็มไวแคท กลุ่มละ 5 ชิ้นตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ สถิติไคสแควร์ ด้วยวิธีมอนติคาร์โล ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การทดสอบการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัว ใช้เครื่องเอ็กเทนโซมิเตอร์ อ่านค่าการขยายตัวที่เวลา 120 นาทีภายหลังจากทําการผสมแล้วนําค่าที่ได้มาคํานวณ เป็นค่าร้อยละของการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัว และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธีอินดีเพนเด้นท์แซมเปิลที่เทสและวันแซมเปิลทีเทส ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผลการศึกษา จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ใส่กรดแอสคอร์บิก 0.026 โมลาร์ มีค่ากําลังแรงอัดมากที่สุดในทุก ช่วงเวลา โดยที่เวลา 1 และ 24 ชั่วโมง มีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) นอกจากนี้กลุ่มที่ใส่ กรดแอสคอร์บิก 0.026 โมลาร์ มีระยะเวลาก่อตัวสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) แม้ว่าจากผล การทดสอบการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัว จะไม่พบความแตกต่างระหว่างอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มนี้กับ กลุ่มควบคุม แต่ค่าการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัวมีค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ สรุป ในการปรับปรุงคุณภาพให้กับยิปซัมชนิดที่สี่ด้วยพอลิอะคริลาไมด์ ปริมาณกรดแอสคอร์บิกที่เหมาะสม 0.026 โมลาร์ที่สุดในการกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาคือ (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:197-206)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.33.3.5

First Page

197

Last Page

206

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.