Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2010-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติและความต้านทานต่อการล้าของตะขอโอบฟันโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมที่นําโลหะเก่ากลับมาใช้ซ้ําในอัตราส่วนผสมของโลหะเก่าและโลหะใหม่โดยน้ําหนักที่แตกต่างกัน วัสดุและวิธีการ ชิ้นงานตัวอย่างตะขอโอบฟันที่ทําจากโลหะผสมโคบอลต์ โครเมียมจํานวนชิ้น ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น โดยกลุ่มที่ 1 ทําจากโลหะใหม่ทั้งหมด กลุ่มที่ 2 ทําจากโลหะใหม่ร้อยละ 50 ผสมกับโลหะ เก่าร้อยละ 50 และกลุ่มที่ 3 ทําจากโลหะเก่าทั้งหมด โดยโลหะเก่าที่ใช้ผ่านการหลอมมาแล้ว 1 ครั้งเท่านั้น ชิ้นงาน ตัวอย่างกลุ่มละ 10 ชิ้น ถูกนํามาทดสอบการงอ โดยให้แรงจนกระทั่งชิ้นงานหัก และทําการบันทึกค่าคุณสมบัติ ต่างๆที่สนใจ ส่วนชิ้นงานตัวอย่างที่เหลือกลุ่มละ 5 ชิ้น จะถูกนํามาทดสอบความต้านทานต่อการล้า โดยให้แรง ที่ทําให้เกิดการเบนออกของชิ้นงานเป็นระยะ 0.25 มม. ซ้ําๆ เพื่อจําลองการดีดตัวของตะขอโอบฟันเข้าออกจาก ส่วนคอดของฟันหลักในขณะถอดใส่ฟันปลอม จนกระทั่งชิ้นงานเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวรเป็น ระยะ 0.1 มม. ในแนวดิ่ง ทําการบันทึกจํานวนรอบของการให้แรง จากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยสถิติแบบแอลเอสดี ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของแรงที่จุดคราก ค่ามอดูลัสยืดหยุ่น และแรงที่ทําให้ชิ้นงานเบนออกไปเป็นระยะ 0.25 มม. ของตะขอที่ทําจากโลหะใหม่ทั้งหมดไม่แตกต่างกับตะขอที่ทําจากโลหะใหม่ร้อยละ 50 ผสมกับโลหะเก่าร้อยละ 50 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่มีค่าสูงกว่าตะขอที่ทําจากโลหะเก่าทั้งหมดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตะขอที่ทําจากโลหะใหม่ทั้งหมดมีความต้านทานต่อการล้าเฉลี่ย (8,457 รอบ) สูงกว่าชิ้นงานตะขอที่ทําจากโลหะ ใหม่ร้อยละ 50 ผสมกับโลหะเก่าร้อยละ 50 (5,479 รอบ) และสูงกว่าชิ้นงานตะขอที่ทําจากโลหะเก่าทั้งหมด (2,880 รอบ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ตามลําดับ (p < 0.05) สรุป การนําโลหะผสมโคบอลต์ โครเมียมกลับมาใช้ซ้ําในอัตราส่วนผสมของโลหะเก่าที่มากขึ้น มีผลทําให้ คุณสมบัติต่างๆ และความต้านทานต่อการล้าของตะขอโลหะเหวี่ยงลดลง (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:185-196)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.33.3.4
First Page
185
Last Page
196
Recommended Citation
พัฒนเจริญ, เกศินี and วงศ์ไทย, ภาณุพงศ์
(2010)
"ความล้าเบี่ยงเบนของตะขอโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมที่นํากลับมาใช้ซ้ํา,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 33:
Iss.
3, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.33.3.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol33/iss3/4