•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2010-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะและโครงสร้างผลึกของชั้นออกไซด์บนผิวคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมทั้งก่อนและหลังการปรับสภาพผิวด้วยวิธีแอโนไดเซชัน เมื่อใช้สารละลายที่มีความเป็นกรด-ด่างต่างกัน วัสดุและวิธีการ งานวิจัยนี้ศึกษาในโลหะคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมเกรด 2 ที่ไม่ผ่านและผ่าน กระบวนการแอโนไดเซชัน ที่ความต่างศักย์ 20 โวลต์ เป็นเวลา 15 นาที ในสารละลาย 3 ชนิด คือ กรดฟอสฟอริก โซเดียมฟลูออไรด์ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ แทนสภาวะกรด กลาง และด่างตามลําดับ งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะ และโครงสร้างผลึกของชั้นออกไซด์โดยใช้โปรไฟโลมิเตอร์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เอกซเรย์ ดิฟแฟรกชัน และค่ามุมสัมผัส วิเคราะห์ความแตกต่างของความขรุขระพื้นผิวและค่ามุมสัมผัสระหว่างกลุ่มทาง สถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์และเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮน และบอนเฟอร์โรเน ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์จะให้ความขรุขระพื้นผิว (0.078 + 0.014 ไมโครเมตร) และค่ามุมสัมผัส (16.75 + 3.24 องศา) น้อยกว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดฟอสฟอริก และ กลุ่มที่ไม่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป โลหะไททาเนียมที่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ให้สมบัติความขรุขระพื้นผิวน้อยที่สุดแต่ให้ค่าความชอบน้ําสูงสุด (2 ทันต จุฬาฯ 2553;33:67-76)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.33.2.1

First Page

67

Last Page

76

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.