•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2010-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพทางเทคนิคของการอุดคลองรากฟันน้ํานม และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพทางเทคนิคของการอุดคลองรากฟันน้ํานม วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังซึ่งเก็บข้อมูลจากระเบียนประวัติทางทันตกรรมของผู้ป่วยเด็ก 166 คน ที่ได้รับการรักษาพลเพคโตมี จากภาควิชาทันตกรรมสําหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ทําการศึกษาโดยบันทึกข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการรักษาพลเพคโตมี ประเมินการละลายของรากฟันจากพยาธิสภาพจากภาพรังสีก่อนการรักษา ความยาวและ ความแน่นของวัสดุอุดคลองรากฟัน ซึ่งพิจารณาจากภาพรังสีการขุดคลองรากฟันภายหลังรักษาทันที วิเคราะห์ ด้วยสถิติวิเคราะห์ความแบบพหุปัจจัยเพื่อหาปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพทางเทคนิคของการอุดคลองรากฟันถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี ผลการศึกษา การศึกษานี้พบว่า วัสดุอุดอยู่ในระดับสั้นกว่าปลายรากฟัน ร้อยละ 45.9 ระดับพอดีปลายรากฟันร้อยละ 22.9 และระดับที่เป็นปลายรากฟัน ร้อยละ 31.2 ฟันที่มีการละลายของรากฟันจากพยาธิสภาพมีโอกาสใน การอุดเป็นปลายรากฟันเป็น 6.2 เท่าของพื้นที่ไม่มีการละลายของรากฟันจากพยาธิสภาพ การอุดคลองรากฟัน ด้วยวัสดุไวตาเพ็กซ์มีโอกาสในการอุดเกินเป็น 2.2 เท่า ของวัสดุซิงค์ออกไซด์ยูจีนอล สรุป การประเมินคุณภาพทางเทคนิคการขุดคลองรากฟันน้ํานมของนิสิตทันตแพทย์ พบว่าส่วนใหญ่อุดคลองรากฟันได้สั้นหรือเกินมากกว่าอุดพอดี นอกจากนั้นการศึกษานี้ยังพบว่าการละลายภายนอกรากฟันจากพยาธิสภาพ และชนิดของวัสดุอุดคลองรากฟัน มีอิทธิพลต่อคุณภาพทางเทคนิคของการอุดคลองรากฟัน (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:41-50)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.33.1.5

First Page

41

Last Page

50

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.