Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2010-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันกลาสไอโอโนเมอร์ต่อปริมาณ ฟลูออไรด์และระดับปริมาณเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ในคราบจุลินทรีย์ ในฟันกรามล่างแท้ที่กําลังขึ้น วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่ขึ้นสู่ช่องปากเพียงบางส่วน จํานวน 45 4 ของเด็กอายุ 10 – 13 ปี ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดฟันผุ ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ โดยทําการ เก็บตัวอย่างคราบจุลินทรีย์ก่อนการเคลือบหลุมร่องฟัน หลังการเคลือบหลุมร่องฟัน ในวันที่ 7 วันที่ 14 และ วันที่ 28 เพื่อวัดปริมาณฟลูออไรด์ในตัวอย่างคราบจุลินทรีย์ด้วยวิธีโมดิฟายด์ ไมโครดิฟฟิวชัน และวัดระดับปริมาณเชื้อ มิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ด้วยชุดตรวจสําเร็จรูปข้างเก้าอี้ เดนโตเคลาท์ เอสเอ็ม สตริป มิวแทนส์ ผลการศึกษา ปริมาณฟลูออไรด์ในคราบจุลินทรีย์หลังการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์สูงกว่าก่อน การเคลือบหลุมร่องฟันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) โดยพบว่าปริมาณฟลูออไรต์ในวันที่ 7 มีค่าสูงสุดแล้วค่อย ๆ ลดลงตามลําดับ และมีการลดลงของระดับปริมาณเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค หลังการเคลือบหลุมร่องฟันเมื่อ เปรียบเทียบกับก่อนการเคลือบหลุมร่องฟัน (p < 0.0001) สรุป การเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่ขึ้นสู่ช่องปากเพียงบางส่วนด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ทําให้ มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณฟลูออไรด์และลดลงของระดับปริมาณเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ในคราบจุลินทรีย์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:31-40)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.33.1.4
First Page
31
Last Page
40
Recommended Citation
ไร่ทิม, ณัฐฐา and สันติวงศ์, บุษยรัตน์
(2010)
"ผลของการเคลือบฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่ขึ้นเพียงบางส่วนด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ต่อเชื้อมิวแทนส์สเตรปโตคอคไคและฟลูออไรด์ในแผ่นคราบจุลินทรีย์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 33:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.33.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol33/iss1/4