Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2010-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมระดับจุลภาคที่ผนังด้านบดเคี้ยวและผนังด้านเหงือกของโพรงฟันชนิด คลาสไฟว์ที่บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตโดยใช้สารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ 2 ชนิด ระหว่างกลุ่มโพรงฟันที่ปนเปื้อน สารห้ามเลือดและไม่ล้างน้ํา กลุ่มที่โพรงฟันปนเปื้อนสารห้ามเลือดและล้างน้ํา กับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการปนเปื้อนสารห้ามเลือด วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟันคลาสไฟว์ในฟันกรามน้อยบนของมนุษย์จํานวน 70 ซี่ ให้ผนังด้านบดเคี้ยวอยู่บน เคลือบฟันและผนังด้านเหงือกอยู่บนเคลือบรากฟัน สุ่มแบ่งฟันทั้งหมดเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ โดยเตรียมผิวฟัน 3 ลักษณะคือ กลุ่มที่ไม่มีการปนเปื้อนสารห้ามเลือด กลุ่มปนเปื้อนสารห้ามเลือดและไม่ล้างน้ํา และกลุ่มปนเปื้อน สารห้ามเลือดและล้างน้ํา ทําการบูรณะฟันด้วยเรซินคอมโพสิตโดยใช้สารยึดติดก่อนการบูรณะ 2 ชนิด คือ เคลียร์ ฟิลเอสอีบอนด์และเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ กลุ่มที่ไม่ใช้สารยึดติดเป็นกลุ่มควบคุมเชิงลบ หลังบูรณะนําชิ้นงาน ทั้งหมดมาผ่านกระบวนการเทอร์โมไซคลิงก่อนทดสอบการรั่วซึมระดับจุลภาคด้วยการแช่ใน 50% ซิลเวอร์ไนเตรต เป็นเวลา 24 ชั่วโมง อ่านผลคะแนนการรั่วซึมทั้งผนังด้านบดเคี้ยวและผนังด้านเหงือก เปรียบเทียบการรั่วซึมระดับ จุลภาคด้วยสถิตินอนพาราเมตริกครัสคาล วัลลิส การเปรียบเทียบพหุคูณ และสถิติแมนวิทนีย์ ยู เทสท์ ผลการศึกษา การรั่วซึมระดับจุลภาคที่ผนังด้านบดเคี้ยวของกลุ่มที่ใช้เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ซึ่งมีการปนเปื้อนสาร ห้ามเลือดแล้วล้างน้ําและไม่ล้างน้ําไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม (p = 0.5555) ส่วนการปนเปื้อนสารห้าม เลือดที่ผนังด้านเหงือกโดยไม่ผ่านการล้างน้ํามีการรั่วซึมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.0001) สําหรับกลุ่มที่ใช้เคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์พบว่าการปนเปื้อนสารห้ามเลือดโดยไม่ผ่านการล้างน้ํามีการรั่วซึมที่ผนังด้านบดเคี้ยวและผนังด้านเหงือกมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.0006 และ p = 0.0001 ตามลําดับ)สรุป การใช้สารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ในการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตเมื่อมี การปนเปื้อนสารห้ามเลือดโดยไม่ทําการล้างน้ําจะให้ค่าการรั่วซึมมากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มปนเปื้อนสารห้าม เลือดที่ทําการล้างน้ํายกเว้นที่ผนังด้านบดเคี้ยวของกลุ่มที่ใช้เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ที่การปนเปื้อนไม่มีผลต่อการรั่วซึม (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:15-24)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.33.1.2
First Page
15
Last Page
24
Recommended Citation
ธรรมพาเลิศ, อัจฉราวรรณ and พานิช, มุรธา
(2010)
"ผลของการปนเปื้อนสารห้ามเลือดต่อการรั่วซึมระดับจุลภาคในการบูรณะฟันที่ใช้สารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ 2 ชนิด,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 33:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.33.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol33/iss1/2