Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2009-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถเคลื่อนขากรรไกรไปยังแต่ละตําแหน่งตามคําบอกของทันตแพทย์ได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดและหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเคลื่อนขากรรไกรได้ถูกต้อง วัสดุและวิธีการ สัมภาษณ์อาจารย์ทันตแพทย์ 18 ท่านถึงวิธีการที่ใช้บอกผู้ป่วยให้เคลื่อนขากรรไกรไปยังตําแหน่ง ต่อไปนี้ 1) สบฟันให้ได้พื้นที่สัมผัสมากที่สุด 2) เยื้องขากรรไกรขวา-ซ้าย 3) ยื่นขากรรไกร 4) อ้าปากกว้างมากที่สุด คัดเลือกวิธีที่ใช้มากที่สุด 4 วิธี นําไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 102 คน อาจารย์ทันตแพทย์หนึ่งท่านเป็น ผู้ตรวจการเคลื่อนขากรรไกรทุกตําแหน่ง สําหรับการอ้าปากกว้างที่สุด วิธีการที่ทําให้ได้ระยะห่างจากปลายฟันหน้า บน-ล่างมากที่สุดจะถือว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเคลื่อนขากรรไกรได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดขึ้นกับวิธีการที่ใช้ (p < 0.05) วิธีการที่กลุ่ม ตัวอย่างทําได้ถูกต้องมากที่สุดในแต่ละตําแหน่งได้แก่ 1) ตําแหน่งสบฟันให้ได้พื้นที่มากที่สุด โดยทันตแพทย์ใช้นิ้ว แตะแก้มบริเวณพื้นหลังทั้งสองข้างของกลุ่มตัวอย่างและบอกว่า “กัดลงมาตรงนี้” (ร้อยละ 91.2) 2) ตําแหน่งเยื้อง ขากรรไกรขวา-ซ้าย โดยทันตแพทย์บอกว่า “เยื้องขากรรไกรไปด้านขวา (หรือซ้าย” พร้อมกับให้ตัวอย่างดูกระจก ร่วมด้วย (ร้อยละ 84.3 และ 79.4 ตามลําดับ) 3) ตําแหน่งยื่นขากรรไกร โดยทันตแพทย์ทําให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน (ร้อยละ 97.1) ส่วนการอ้าปากกว้างมากที่สุด ให้ทันตแพทย์บอกว่า “อ้าปากกว้างสุด ๆ” แล้วพูดว่า “กว้างอีกนิดได้ไหม” (ร้อยละ 65.09) สรุป ตัวอย่างแต่ละคนมีความสามารถในการเคลื่อนขากรรไกรตามคําบอกของทันตแพทย์แตกต่างกันทั้งในแต่ละ ตําแหน่งและวิธีการ โดยที่พบปัญหาการเคลื่อนขากรรไกรไปด้านข้างมากกว่าตําแหน่งอื่น (ว ทันต จุฬาฯ 2552;32:213-24)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.32.3.6
First Page
213
Last Page
224
Recommended Citation
วานิชชานนท์, พนมพร; สายสุด, ขนิษฐา; อยู่เย็น, จินตนา; and ลาบึง, ณัฐพงษ์
(2009)
"ความสามารถของกลุ่มตัวอย่างในการเคลื่อน ขากรรไกรตามคําบอกของทันตแพทย์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 32:
Iss.
3, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.32.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol32/iss3/6