Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2009-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเคซีนฟอสโฟเปปไทด์-อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตเพสต์ที่มีต่อความแข็งของเคลือบฟันที่ไม่ผ่านการขัดที่สัมผัสน้ําคลอรีนในห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการ เตรียมฟันกรามน้อยที่ถอนเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดฟันทั้งหมด 12 ซี่ สําหรับทดสอบความแข็ง ด้วยเครื่องทดสอบความแข็งในระดับนาโน สุ่มตัวอย่างแบบอิสระเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองนําไปทาเคซีน ฟอสโฟเปปไทด์-อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตเพสต์เป็นเวลา 3 นาที และแช่ในน้ําลายเทียมเป็นเวลา 30 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ทาสารใด ๆ ทดสอบความแข็งเคลือบฟันก่อนและหลังจากนําทั้งสองกลุ่มไปแช่ในน้ําคลอรีนที่ มีค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5.3 เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และแช่ในน้ําลายเทียมอีก 8 ชั่วโมง นําค่าความแข็งหน่วยเป็น จิกะปาสคาล มาวิเคราะห์ด้วยสถิติวิลดอกซัน ไซน์ แรงค์ เทสต์ (p = 0.05) ผลการศึกษา ค่าความแข็งของเคลือบฟันก่อนและหลังสัมผัสน้ําคลอรีนที่มีค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5.3 เป็น เวลา 2 ชั่วโมง และแช่ในน้ําลายเทียมอีก 8 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติทั้งในกลุ่มควบคุม (4.34 + 0.92 และ 4.38 + 0.72 จิกะปาสคาล) และกลุ่มทดลอง (4.91 + 0.32 และ 5.05 + 1.29 จิกะปาสคาล) สรุป เคซีนฟอสโฟเปปไทด์ - อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตเพสต์ไม่มีผลต่อความแข็งของเคลือบฟันที่สัมผัส น้ําคลอรีนที่มีค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5.3 เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และแช่ในน้ําลายเทียม 8 ชั่วโมง ในห้องปฏิบัติการ (ว ทันต จุฬาฯ 2552;32:203-12)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.32.3.5
First Page
203
Last Page
112
Recommended Citation
พนมเริงศักดิ์, ธาริณี; ชอบอิสระ, สมหมาย; and พูลทอง, สุชิต
(2009)
"ผลของเคซีนฟอสโฟเปปไทด์-อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตเพสต์ต่อความแข็งของเคลือบฟันที่สัมผัสกับน้ําคลอรีน: การศึกษาในห้องปฏิบัติการ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 32:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.32.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol32/iss3/5