Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2009-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรั่วซึมของเทคนิคการอุดย้อนปลายรากชนิดใช้วัสดุเอ็มทีเอกับชนิดใช้วัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่เป็นวัสดุอุดย้อนปลายรากฟัน ทั้งกรณีที่มีและไม่มีการปนเปื้อนด้วยเลือด วัสดุและวิธีการ ฟันหน้าบนของมนุษย์ที่มีคลองรากเดียวขนาดใกล้เคียงกันจํานวน 68 ที่ถูกถอนออกด้วย เหตุผลทางการแพทย์ นํามาตัดส่วนตัวฟันออกให้เหลือความยาวราก 15 มิลลิเมตร ขยายคลองรากฟันแล้ว อุดคลองรากฟันด้วยกัตตาเปอร์ชาและเอเอ็ชพลัสรูทคาแนลซีลเลอร์ ทําการตัดปลายราก 3 มิลลิเมตร แบ่งรากฟัน ออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง (กลุ่มละ 15 ราก) และ 2 กลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 4 ราก) สองกลุ่มการทดลองแรก เตรียมปลายรากฟันด้วยหัวอัลตราโซนิกส์ลึก 3 มิลลิเมตร แล้วอุดย้อนปลายรากด้วยวัสดุเอ็มทีเอ ทั้งแบบที่มีและ ไม่มีการปนเปื้อนด้วยเลือด อีกสองกลุ่มการทดลองเตรียมปลายรากฟันด้วยหัวกรอรูปกลมกรอปลายรากฟันให้มีรูปร่างเว้าเล็กน้อย อุดย้อนปลายรากฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ ทั้งแบบที่มีและไม่มีการปนเปื้อน ด้วยเลือด ประเมินการรั่วซึมโดยใช้สีเมทธีลีนบลูในระบบสุญญากาศ วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความ แปรปรวนสองทางที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา กลุ่มการทดลองที่ใช้เทคนิคเตรียมปลายรากฟันให้มีรูปร่างเว้าเล็กน้อย แล้วอุดย้อนปลายรากฟัน ด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ แบบที่ไม่มีการปนเปื้อนด้วยเลือด มีการรั่วซึมของสีน้อยกว่ากลุ่มทดลองอื่น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป การรั่วซึมของการอุดย้อนปลายรากฟันด้วยวัสดุเอ็มทีเอและวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ ขึ้นกับเทคนิคการอุดย้อนปลายรากและปัจจัยของการปนเปื้อนด้วยเลือด โดยเทคนิคเตรียมปลายรากฟันให้มีรูปร่างเว้าเล็กน้อย แล้วอุดย้อนปลายรากฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ แบบที่ไม่มีการปนเปื้อนด้วยเลือด มีการรั่วซึมน้อยที่สุด (ว ทันต จุฬาฯ 2552;32:167-78)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.32.3.2
First Page
167
Last Page
178
Recommended Citation
อินทรฤทธิ์, ทิพวัลย์ and พาณิชย์วิสัย, ปิยาณี
(2009)
"การรั่วซึมของเทคนิคการอุดย้อนปลายราก 2 แบบ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 32:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.32.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol32/iss3/2