•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2009-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ ดัชนีแบบอย่างความเป็นวิชาชีพได้รับการประยุกต์สําหรับทันตแพทย์ไทย โดยผ่านกระบวนการ ปรับข้ามวัฒนธรรม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณสมบัติด้านความเที่ยงและความตรงของดัชนีฉบับภาษาไทย วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างชุด ก. ประกอบด้วยทันตแพทย์ที่ได้รับการสุ่มเลือกจํานวน 792 คน ดําเนินการเก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ประเมินความตรงเชิงปัจจัยด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสํารวจประเมินความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีความตรงร่วมกันของข้อความและวิธีความตรงแบ่งแยกของข้อความประเมินความเที่ยงประเภทความฟ้องภายในด้วยค่าสถิติครอนห์มาคอัลฟา และประเมินความเที่ยงประเภทแบ่ง ครึ่งด้วยสัมประสิทธิ์สเปียร์แมน-บราวน์ กลุ่มตัวอย่างชุด ข. ประกอบด้วยทันตแพทย์จํานวน 234 คน ที่ได้รับและ ส่งคืนแบบสอบถามซ้ํา เพื่อประเมินความเที่ยงประเภททดสอบซ้ําด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสํารวจได้โครงสร้างปัจจัยประกอบด้วยมิติทั้ง 4 ด้าน ตามดัชนีต้นฉบับ ได้แก่ คุณวุฒิ หน้าที่รับผิดชอบ ความมีอิสระในการทํางาน และอํานาจแห่งตัวแทน รวมทั้งมิติที่ 5 ซึ่งเพิ่มขึ้นมา ในด้านคุณวุฒิ-หน้าที่รับผิดชอบ มิติส่วนใหญ่ของแบบจําลอง 5 ปัจจัยนี้มีความตรงร่วมกันของข้อความและ ความตรงแบ่งแยกของข้อความในระดับที่ดี ยกเว้นเพียงมิติด้านความมีอิสระในการทํางาน ผลการประเมิน ความพ้องภายในได้ค่าสถิติอัลฟาอยู่ระหว่าง 0.25-0.85 ค่าสัมประสิทธิ์สเปียร์แมน-บราวน์มีค่าระหว่าง 0.34-0.87 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นของแต่ละข้อความมีค่าอยู่ระหว่าง 0.32-0.60 สรุป การประเมินคุณสมบัติด้านความเที่ยงและความตรง พบว่ามีระดับค่อนข้างต่ําอยู่บ้างในบางมิติของดัชนีโดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีฉบับภาษาไทยยังมีโครงสร้างของปัจจัยไม่สอดคล้องตามดัชนีต้นฉบับ จึงสมควรต้องมีการพัฒนาคุณสมบัติทางการวัดผลของดัชนีต่อไป ก่อนที่จะนําไปใช้ประเมินความเป็นวิชาชีพของทันตแพทย์ไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2 ทันต จุฬาฯ 2552;32:53-68)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.32.1.5

First Page

53

Last Page

68

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.