Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2009-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และรูปแบบความผิดปกติของขากรรไกรในผู้ป่วยไทยที่มีโครงสร้างกะโหลก ศีรษะประเภท II ในเพศชายและเพศหญิง รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่มารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวน 100 คน (ชาย 50 หญิง 50 คน) อายุ 18-43 ปี มีค่ามุมเอเอ็นบีมากกว่าหรือเท่ากับ 6 องศา นําภาพรังสีวัดศีรษะด้านข้างก่อนการรักษาของกลุ่มตัวอย่างมา ลอกลาย วัดค่าที่แสดงลักษณะขากรรไกรบนและล่างในแนวหน้าหลัง ได้แก่ มุมเอสเอ็นเอ ความยาวขากรรไกร บน มุมแม็กซิลลารีเด็พ มุมเอสเอ็นบี ความยาวขากรรไกรล่าง มุมเฟเชียลเด็จ วัดค่าที่แสดงลักษณะในแนวดิ่ง ของโครงสร้างใบหน้าและขากรรไกร ได้แก่ มุมเฟเชียลแอ็กซิส มุมระนาบแฟรงค์ฟอร์ต ความสูงใบหน้าส่วนล่าง ความสูงใบหน้าส่วนหลัง มุมแมนดิบูลาอาร์ค นําค่าที่วัดได้เทียบกับค่าปกติของคนไทยที่ใช้ในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจําแนกตําแหน่งและความสัมพันธ์ของส่วนโค้งแนวฟันบนและล่างของกลุ่มตัวอย่าง เป็นสามกลุ่ม (โดยใช้การผ่านเกณฑ์ 2 ใน 3) ได้แก่ ตําแหน่งถอยหลัง ตําแหน่งปกติ และตําแหน่งยื่นไป ทางด้านหน้า ในแนวดิ่ง (โดยใช้การผ่านเกณฑ์ 3 ใน 5) จําแนกเป็นโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบสบลึก แบบสบ ปกติ และแบบสบเปิด หาอัตราการเกิดความผิดปกติของโครสร้างกะโหลกศีรษะชนิดต่างๆ และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับลักษณะโครงสร้างโดยใช้ค่าสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีโครงสร้างกะโหลกศีรษะในแนวหน้าหลังเป็นแบบขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง อยู่ในตําแหน่งปกติมากที่สุดทั้งในเพศชายและเพศหญิง (ร้อยละ 44 และ 46 ตามลําดับ) ลักษณะที่พบมากเป็น ลําดับสองในเพศชาย คือ ขากรรไกรบนยื่นร่วมกับขากรรไกรล่างอยู่ในตําแหน่งปกติ (ร้อยละ 24) ในเพศหญิง คือ ขากรรไกรบนอยู่ในตําแหน่งปกติร่วมกับขากรรไกรล่างอยู่ในตําแหน่งถอยหลัง (ร้อยละ 26) ลักษณะในแนวดิ่งพบ ว่ากลุ่มตัวอย่างมีลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบสบปกติเป็นจํานวนมากที่สุด (ร้อยละ 46) ซึ่งใกล้เคียงกัน กับโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบสบเปิด (ร้อยละ 41) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับลักษณะโครงสร้าง กะโหลกศีรษะทั้งแนวหน้าหลังและแนวดิ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป การศึกษาลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะประเภท II ในผู้ป่วยไทยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและ เพศหญิงมีขากรรไกรบนและขากรรไกรล่างอยู่ในตําแหน่งปกติ และไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเพศกับลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะ (ว ทันต จุฬาฯ 2552;32:39-52)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.32.1.4
First Page
39
Last Page
52
Recommended Citation
นาคดี, จีระวดี; ชํานาญนิธิอรรถ, นิรมล; and อภิวัฒนกุล, ปิยารัตน์
(2009)
"ลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะประเภท II ในผู้ป่วยไทยที่มารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันกลุ่มหนึ่ง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 32:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.32.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol32/iss1/4