Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2009-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการรั่วซึมระดับไมครอนของโพรงฟันชนิดคลาสไฟว์ที่บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตเมื่อใช้ สารยึดติด 3 ชนิดตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต เปรียบเทียบกับเมื่อใช้สารยึดติดโดยการปรับวิธีการใช้ วัสดุและวิธีการ นําฟันกรามน้อยที่ถูกถอนของมนุษย์ 60 ปี กรอเตรียมโพรงฟันชนิดคลาสไฟว์ทําการบูรณะด้วย เรซินคอมโพสิต โดยสารยึดติดที่ใช้ ได้แก่ ออปติบอนด์เอฟแอล เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต เป็นกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้สารยึดติด โดยมีการปรับ วิธีการใช้ หลังจากผ่านเครื่องเทอร์มอไซคลิง 5,000 รอบแล้วนํามาทดสอบการรั่วซึม ประเมินและวิเคราะห์ผลการ รั่วซึมด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ และวิลคอกซัน ชายน์ แรงค์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์มีการรั่วซึมที่เคลือบฟันน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมเมื่อกัดผิว เคลือบฟันด้วยกรดฟอสฟอริกก่อนทาสารยึดติด แต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ เคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ มีการรั่วซึมที่ เคลือบฟันลดลงอย่างมีนัยสําคัญเมื่อปรับเปลี่ยนวิธีการใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ออปติบอนด์เอฟแอล ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้งานมีการรั่วซึมที่เนื้อฟันน้อยลงอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุป การใช้เคลียร์ฟิลเอสบอนด์ตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิตเปรียบเทียบกับการใช้กรดฟอสฟอริกกัดที่ผิวเคลือบฟันมีประสิทธิภาพป้องกันการรั่วซึมที่เคลือบฟันไม่แตกต่างกัน ตรงข้ามกับเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ ซึ่งการรั่วซึมลดลงอย่างมีนัยสําคัญที่เคลือบฟันที่มีการใช้กรดกัดก่อน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ตามคําแนะนําของผู้ผลิตสําหรับออปติบอนด์เอฟแอล การปรับสภาพเนื้อฟันด้วยไพรม์เมอร์เพียงอย่างเดียวพบว่าลดการรั่วซึมที่เนื้อฟัน ลงอย่างมีนัยสําคัญ (ว ทันต จุฬาฯ 2552;32:23-38)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.32.1.3
First Page
23
Last Page
38
Recommended Citation
อินทกนก, ชุตินาฏ and ศรีสวัสดิ์, ศิริวิมล
(2009)
"การรั่วซึมระดับไมครอนของสารยึดติดสามชนิดที่มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการใช้งาน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 32:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.32.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol32/iss1/3