•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2008-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนในฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันด้วยการใช้เดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใย เมื่อใส่เดือยในลักษณะเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวต่างกันใน คลองรากที่เตรียมไว้ขนาดเดียวกัน วัสดุและวิธีการ นําฟันตัดกลางบนจํานวน 30 ซี่ มาตัดส่วนตัวฟันออกให้เหลือความยาวราก 13 มิลลิเมตรและ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ทุกกลุ่มทําการรักษารากฟันด้วยวิธีแลทเทอรอลคอนเดนเซชั่นและทําการเตรียมช่องว่าง สําหรับใส่เดือยฟันยาว 8 มิลลิเมตร ด้วยหัวเจาะสําหรับเดือยขนาดกลาง (เบอร์ 2) ทําการบูรณะฟันด้วยเดือย คอมโพสิตเสริมเส้นใย (ผลิตภัณฑ์ดีที่ไลท์-โพสท์, บิสโก้, ฝรั่งเศส) โดยใช้เรซินซีเมนต์ (ผลิตภัณฑ์พานาเวียร์ เอฟ 2.0, คราเรย์, ญี่ปุ่น) ในการยึดร่วมกับการใช้เรซินคอมโพสิตในการสร้างแกนฟัน โดยกลุ่มที่ 1 ใช้เดือยฟันที่มีขนาดและ ความยาวพอดีกับผนังคลองรากฟัน (เบอร์ 2) กลุ่มที่ 2 ใช้เดือยฟันขนาดเล็กที่มีความยาวพอดีกับความยาวของ คลองรากฟัน แต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าคลองรากฟัน (เบอร์ 1) และกลุ่มที่ 3 ใช้เดือยฟันที่มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลางใหญ่ (เบอร์ 3) โดยเมื่อใส่ลงในคลองรากฟันจะมีความยาวของเดือยสั้นกว่าความยาวของคลอง รากฟันแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพอดีกับผนังคลองรากฟันส่วนต้น หลังจากนั้นนําฟันที่เตรียมไว้ในแต่ละกลุ่ม ยึดลงบล็อกยึดฟันที่ทําจากท่อพีวีซีโดยใช้อะครีลิกเรซินที่บ่มตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง นําชิ้นตัวอย่างทั้งหมดไปทดสอบ ความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนด้วยเครื่องทดสอบสากล โดยวางชิ้นตัวอย่างทํามุม 90 องศา ระหว่างแนวแกนฟันกับหัวกด กดหัวทดสอบลงบนแกนฟันด้านลิ้นด้วยความเร็วหัวกด 2 มิลลิเมตร/นาที บันทึก แรงที่ทําให้เกิดความล้มเหลวในการบูรณะของชิ้นตัวอย่าง และนําผลค่าเฉลี่ยของแรงไปเปรียบเทียบทางสถิติด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติบอนเฟอร์โรนีที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ผลการทดสอบพบว่าค่าเฉลี่ยแรงด้านความล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนและส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานในแต่ละกลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เท่ากับ 108.33 + 11.59 นิวตัน กลุ่มที่ 2 เท่ากับ 79.08 + 12.15 นิวตัน และในกลุ่มที่ 3 เท่ากับ 94.87 + 14.48 นิวตัน ซึ่งจากการเปรียบเทียบทางสถิติพบว่า กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 มีค่า เฉลี่ยแรงต้านความล้มเหลวในการบูรณะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่ในกลุ่มที่ 2 พบว่ามีค่าต่ํากว่า อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 โดยพบว่าจากผลการทดสอบไม่พบการแตกของรากฟันในทุกกลุ่ม สรุป การใช้เดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยที่มีขนาดพอดีกับคลองรากฟันจะให้แรงด้านความล้มเหลวในการบูรณะ ด้วยเดือยและแกนสูงสุด แต่ไม่แตกต่างกับการใช้เดือยฟันที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า ส่วนการใช้เดือยที่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าคลองรากฟันจะทําให้แรงด้านความล้มเหลวในการบูรณะต่ําลงอย่างมีนัยสําคัญ (2 ทันต จุฬาฯ 2551;31:359-70)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.9

First Page

359

Last Page

370

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.