Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2008-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนในฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันด้วยการใช้เดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใย เมื่อใส่เดือยในลักษณะเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวต่างกันใน คลองรากที่เตรียมไว้ขนาดเดียวกัน วัสดุและวิธีการ นําฟันตัดกลางบนจํานวน 30 ซี่ มาตัดส่วนตัวฟันออกให้เหลือความยาวราก 13 มิลลิเมตรและ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ทุกกลุ่มทําการรักษารากฟันด้วยวิธีแลทเทอรอลคอนเดนเซชั่นและทําการเตรียมช่องว่าง สําหรับใส่เดือยฟันยาว 8 มิลลิเมตร ด้วยหัวเจาะสําหรับเดือยขนาดกลาง (เบอร์ 2) ทําการบูรณะฟันด้วยเดือย คอมโพสิตเสริมเส้นใย (ผลิตภัณฑ์ดีที่ไลท์-โพสท์, บิสโก้, ฝรั่งเศส) โดยใช้เรซินซีเมนต์ (ผลิตภัณฑ์พานาเวียร์ เอฟ 2.0, คราเรย์, ญี่ปุ่น) ในการยึดร่วมกับการใช้เรซินคอมโพสิตในการสร้างแกนฟัน โดยกลุ่มที่ 1 ใช้เดือยฟันที่มีขนาดและ ความยาวพอดีกับผนังคลองรากฟัน (เบอร์ 2) กลุ่มที่ 2 ใช้เดือยฟันขนาดเล็กที่มีความยาวพอดีกับความยาวของ คลองรากฟัน แต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าคลองรากฟัน (เบอร์ 1) และกลุ่มที่ 3 ใช้เดือยฟันที่มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลางใหญ่ (เบอร์ 3) โดยเมื่อใส่ลงในคลองรากฟันจะมีความยาวของเดือยสั้นกว่าความยาวของคลอง รากฟันแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพอดีกับผนังคลองรากฟันส่วนต้น หลังจากนั้นนําฟันที่เตรียมไว้ในแต่ละกลุ่ม ยึดลงบล็อกยึดฟันที่ทําจากท่อพีวีซีโดยใช้อะครีลิกเรซินที่บ่มตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง นําชิ้นตัวอย่างทั้งหมดไปทดสอบ ความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนด้วยเครื่องทดสอบสากล โดยวางชิ้นตัวอย่างทํามุม 90 องศา ระหว่างแนวแกนฟันกับหัวกด กดหัวทดสอบลงบนแกนฟันด้านลิ้นด้วยความเร็วหัวกด 2 มิลลิเมตร/นาที บันทึก แรงที่ทําให้เกิดความล้มเหลวในการบูรณะของชิ้นตัวอย่าง และนําผลค่าเฉลี่ยของแรงไปเปรียบเทียบทางสถิติด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติบอนเฟอร์โรนีที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ผลการทดสอบพบว่าค่าเฉลี่ยแรงด้านความล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนและส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานในแต่ละกลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เท่ากับ 108.33 + 11.59 นิวตัน กลุ่มที่ 2 เท่ากับ 79.08 + 12.15 นิวตัน และในกลุ่มที่ 3 เท่ากับ 94.87 + 14.48 นิวตัน ซึ่งจากการเปรียบเทียบทางสถิติพบว่า กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 มีค่า เฉลี่ยแรงต้านความล้มเหลวในการบูรณะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่ในกลุ่มที่ 2 พบว่ามีค่าต่ํากว่า อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 โดยพบว่าจากผลการทดสอบไม่พบการแตกของรากฟันในทุกกลุ่ม สรุป การใช้เดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยที่มีขนาดพอดีกับคลองรากฟันจะให้แรงด้านความล้มเหลวในการบูรณะ ด้วยเดือยและแกนสูงสุด แต่ไม่แตกต่างกับการใช้เดือยฟันที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า ส่วนการใช้เดือยที่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าคลองรากฟันจะทําให้แรงด้านความล้มเหลวในการบูรณะต่ําลงอย่างมีนัยสําคัญ (2 ทันต จุฬาฯ 2551;31:359-70)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.9
First Page
359
Last Page
370
Recommended Citation
อนันตวิริยะพร, สิริรัตน์ and ซาลิมี, ปรารมภ์
(2008)
"ผลของเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของเดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยต่อความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนในฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 31:
Iss.
3, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol31/iss3/9