Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2008-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารเชื่อมยึด 2 ชนิด และระยะเวลาการเก็บชิ้นงานต่อค่าความแข็งแรงตัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว วัสดุและวิธีการ ชิ้นทดสอบขนาด 2x2x25 มิลลิเมตร สร้างขึ้นจากวัสดุเรซินอะคริลิกชนิดบ่มได้เองจํานวน 80 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (ก) กลุ่มที่ไม่ได้เสริมเส้นใย (ข) กลุ่มที่ไม่ได้ปรับสภาพผิวเส้นใยแก้ว (ค) กลุ่มเสริม เส้นใยแก้วที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไซเลน และ (ง) กลุ่มเสริมเส้นใยแก้วที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสาร เชื่อมยึดไททาเนต โดยเส้นใยแก้วที่ใช้เสริมความแข็งแรงปริมาณร้อยละ 10 โดยปริมาตรถูกจัดวางให้ขนานตาม แนวยาวและอยู่ในตําแหน่งกึ่งกลางของชิ้นทดสอบ แต่ละกลุ่มทดลองถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยเพื่อเก็บชิ้นงานใน น้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน และ 30 วัน ก่อนนํามาทดสอบความแข็งแรงดัดขวางแบบ 3 จุด (ความเร็วในการเคลื่อนหัวกด 1 มม. ต่อนาที) จากนั้นศึกษาลักษณะพื้นผิวที่แตกด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด วิเคราะห์ค่าความแข็งแรงดัดขวางด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการศึกษา ค่าความแข็งแรงตัดขวางของแต่ละกลุ่มทดสอบต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดย กลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไซเลนมีค่ามากกว่ากลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไททาเนต กลุ่ม ที่ไม่ได้ปรับสภาพผิวเส้นใยแก้ว และกลุ่มที่ไม่ได้เสริมเส้นใยแก้ว ตามลําดับ และค่าความแข็งแรงดัดขวางของแต่ละ กลุ่มทดสอบที่แช่น้ํา 7 มีค่ามากกว่ากลุ่มที่แช่น้ํา 30 วัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป สารเชื่อมยึดสามารถเพิ่มค่าความแข็งแรงดัดขวางในเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว และเวลาในการเก็บชิ้นงานมีผลต่อค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:349-58)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.8
First Page
349
Last Page
358
Recommended Citation
หอมจันทร์จีรัง, ประภาพร and บุญศิริ, อิศราวัลย์
(2008)
"ผลของสารเชื่อมยึดและระยะเวลาในการเก็บชิ้นงานต่อค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 31:
Iss.
3, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol31/iss3/8