•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2008-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเชลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ และเปรียบเทียบกับเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติด วัสดุและวิธีการ ทดสอบความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไลเอ็กซ์ยูร้อย แมกเต็ม และมัลติลิงค์สปรินท์ และเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดผลิตภัณฑ์ แวริโอลิงค์ทู โดย ใช้การทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติทางทันตกรรม หมายเลข 9917/2003 และ 4049/2000 ตามลําดับวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา ซีเมนต์ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดอยู่ระหว่าง 213.42 + 3.74 - 278.82 + 30.96 เมกะปาสคาล ค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดของแวริโอลิงค์ทู มีค่าสูงสุดแต่ในทางสถิติไม่มีความแตกต่างกับไลเอ็กซ์ยู ร้อย และแมกเข็ม ส่วนมัลติลิงค์สปรินท์มีค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดต่ําที่สุด และแตกต่างจากซีเมนต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความทนแรงดัดของซีเมนต์ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีค่าอยู่ระหว่าง 88.33 + 4.64 - 148.56 + 23.42 เมกะปาสคาล ความทนแรงดัดของแวรีโอลิงค์ทู สูงที่สุดแต่ไม่มีความแตกต่างจาก รีไลเอ็กซ์ยูร้อย และ มัลติลิงค์ สปรินท์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนแมกเข็มมีค่าเฉลี่ยความทนแรงดัดต่ําที่สุดและมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญกับซีเมนต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ยกเว้นกับผลิตภัณฑ์ร์ไลเอ็กซ์ยูร้อย สรุป เซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์เกือบทุกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษานี้มีความทนแรงอัดและความทนแรงดัดใกล้เคียงเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติด โดยค่าดังกล่าวของทุกผลิตภัณฑ์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติทางทันตกรรม (2 ทันต จุฬาฯ 2551:31:339-48)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.7

First Page

339

Last Page

348

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.