Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2008-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเชลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ และเปรียบเทียบกับเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติด วัสดุและวิธีการ ทดสอบความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไลเอ็กซ์ยูร้อย แมกเต็ม และมัลติลิงค์สปรินท์ และเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดผลิตภัณฑ์ แวริโอลิงค์ทู โดย ใช้การทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติทางทันตกรรม หมายเลข 9917/2003 และ 4049/2000 ตามลําดับวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา ซีเมนต์ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดอยู่ระหว่าง 213.42 + 3.74 - 278.82 + 30.96 เมกะปาสคาล ค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดของแวริโอลิงค์ทู มีค่าสูงสุดแต่ในทางสถิติไม่มีความแตกต่างกับไลเอ็กซ์ยู ร้อย และแมกเข็ม ส่วนมัลติลิงค์สปรินท์มีค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดต่ําที่สุด และแตกต่างจากซีเมนต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความทนแรงดัดของซีเมนต์ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีค่าอยู่ระหว่าง 88.33 + 4.64 - 148.56 + 23.42 เมกะปาสคาล ความทนแรงดัดของแวรีโอลิงค์ทู สูงที่สุดแต่ไม่มีความแตกต่างจาก รีไลเอ็กซ์ยูร้อย และ มัลติลิงค์ สปรินท์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนแมกเข็มมีค่าเฉลี่ยความทนแรงดัดต่ําที่สุดและมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญกับซีเมนต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ยกเว้นกับผลิตภัณฑ์ร์ไลเอ็กซ์ยูร้อย สรุป เซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์เกือบทุกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษานี้มีความทนแรงอัดและความทนแรงดัดใกล้เคียงเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติด โดยค่าดังกล่าวของทุกผลิตภัณฑ์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติทางทันตกรรม (2 ทันต จุฬาฯ 2551:31:339-48)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.7
First Page
339
Last Page
348
Recommended Citation
วิทยเจียกขจร, นัทธ์ชนัน and มณีนุษย์, ชัยวัฒน์
(2008)
"ความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 31:
Iss.
3, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol31/iss3/7