Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2008-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ หาค่าเฉลี่ยและศึกษาอิทธิพลของเพศและอายุต่อขนาดปรากฏของฟันธรรมชาติ 6 ที่หน้าบน วัสดุและวิธีการ สุ่มเลือกประชากรไทยช่วงอายุ 25-40 ปี จํานวน 80 คน เป็นชายและหญิงจํานวนเท่ากัน วัดความกว้างและความยาวของฟันหน้าบนใน 2 มิติจากแบบหล่อ วิเคราะห์สถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ของค่า ที่ได้กับปัจจัยต่าง ๆ อันได้แก่ ระยะระหว่างฟันเขี้ยวหรือความกว้างของฟันซี่ถัดไปด้วยที เทสต์ที่ระดับความ เชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศพบว่าค่าเฉลี่ยความกว้างในฟันหน้าบนตําแหน่งเดียวกันไม่มีความ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ ยกเว้นในฟันเขี้ยวซ้าย เมื่อพิจารณาด้านขวากับซ้ายไม่ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันตัดซี่กลางและฟันตัดซี่ข้างในทั้งสองเพศเป็น 8.7 + 0.6 และ 7.3 + 0.6 มม. ตามลําดับ สําหรับฟันเขี้ยวในเพศชายและหญิงมีค่า 8.2 + 0.6 และ 8.0 + 0.4 มม. ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยความยาวพบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญระหว่างเพศเฉพาะในฟันตัดซี่ข้างทั้งสองข้าง เมื่อพิจารณาด้านขวากับซ้ายไม่ ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ค่าเฉลี่ยความยาวของฟันตัดซี่กลางและฟันเขี้ยวในทั้งสองเพศเป็น 9.8 + 0.9 และ 9.4 + 0.9 มม. ตามลําดับ ในขณะที่ค่าของฟันตัดข้างในเพศชายและหญิงเป็น 9.2 + 0.9 และ 8.5 + 0.9 มม. ตามลําดับ พบว่าค่าความกว้างของฟันตัดกลางบนมีค่าเป็นร้อยละ 24 ของความกว้างระหว่างปลายฟันเขี้ยวบนซ้าย-ขวาส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับความกว้างหรือความยาวปรากฏของฟันหน้าบนทุกซี่ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ สรุป ความกว้างของฟันตัดกลางบนมีค่าเป็นร้อยละ 24 ของความกว้างระหว่างปลายฟันเขี้ยวในทั้งสองเพศ และเพศมีอิทธิพลต่อขนาดปรากฏของฟันตัดซี่ข้างบนในขณะที่อายุไม่มีอิทธิพล (2 ทันต จุฬาฯ 2551:31:295-304)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.3
First Page
295
Last Page
304
Recommended Citation
แก้วปลั่ง, อรพินท์; ยรรยงเกษมสุข, วรางคณา; and วิสิทธิ์ศิลป์, อรทูล
(2008)
"การศึกษาขนาดปรากฏของฟันธรรมชาติหน้าบนในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 31:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.31.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol31/iss3/3