Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2008-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาว ที่ผลิตในประเทศไทยสองบริษัทผสมกับบิสมัดออกไซด์ และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ วัสดุและวิธีการ วิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีและขนาดอนุภาคของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศ ไทยผสมกับบิสมัยออกไซด์ และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ โดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์อนาไลติคัลไมโครสโคปโพรบ และเครื่อง วิเคราะห์ขนาดอนุภาค วิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาของวัสดุโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด จากนั้นวัดความเป็นกรด-เบส ทุก 1 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้มาตรความเป็นกรด-เบส ที่มีเทมเพอร์ เรเจอร์คอมเพนเสทอิเล็กโทรด วัดความทึบรังสีของวัสดุ โดยนํามาเปรียบเทียบกับอลูมิเนียมสเต็ปเวดจ์ ตาม มาตรฐานไอเอสโอ 6876(2001) ส่วนเวลาแข็งตัววัดตามคําแนะนําของสมาคมวิจัยวัสดุแห่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้ มาตรฐานไอเอสโอ 6876(2001) ความทนแรงอัดและความสามารถในการละลายวัดตามไอเอสโอ 9917-1(2003) และมาตรฐานเอดีเอหมายเลข 30 ตามลําดับ วิเคราะห์ผลการทดลองใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและสองทาง และการทดสอบที ผลการศึกษา ส่วนประกอบทางเคมี ขนาดอนุภาค และลักษณะสัณฐานวิทยาของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิต ในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัท ผสมกับบิสมัดออกไซด์คล้ายกับไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ ความทึบรังสีของพอร์ตแลนด์ ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัทผสมกับบิสมัยออกไซด์มีค่ามากกว่าไวท์โปรรูทเอ็มทีเออย่างมีนัยสําคัญ (p < .05) ไวท์โปรรูดเอ็มทีเอ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยบริษัทที่ 1 และ 2 ผสมกับบิสมัย- ออกไซด์มีค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 12.5 12.5 และ 12.6 ที่เวลา 23 24 และ 16 นาที ตามลําดับพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยบริษัทที่ 1 ผสมกับบิสมัดออกไซด์จะมีเวลาเริ่มต้นแข็งตัว และเวลา แข็งตัวเต็มที่น้อยสุด นอกจากนี้ยังมีความทนแรงอัดมากที่สุดหลังจาก 1 วัน (37.027 เมกกะปาสคาล) แต่ไวท์- โปรรูทเอ็มทีเอจะมีความทนแรงอัดมากที่สุดหลังจาก 21 วัน (449.686 เมกกะปาสคาล) และไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญของตัวอย่างทั้งหมดในการทดสอบสภาพการละลายได้ที่ 1 7 และ 21 วัน (p > .05) สรุป พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัทผสมกับบิสมัยออกไซด์ และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอมี ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพคล้ายกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:145-58)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.31.2.3
First Page
145
Last Page
158
Recommended Citation
ศิริชัยวงศ์สกุล, ศิริขวัญ and พานิชอัตรา, อัญชนา
(2008)
"ส่วนประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยสองบริษัทผสมบิสมัตออกไซด์เปรียบเทียบกับไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 31:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.31.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol31/iss2/3