•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2008-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครองต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กอายุ 3 ปี วัสดุและวิธีการ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาเป็นเด็กอายุ 3 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครจํานวน 267 คน ซึ่งอยู่ใน สถานเลี้ยงดูเด็กของรัฐหรือของเอกชนในวันเวลาราชการ เด็กแต่ละคนได้รับการตรวจและบันทึกสถานภาพโรคฟันผุโดยใช้ดัชนีฟันผุถอนอุดของฟันน้ํานมตามเกณฑ์การตรวจขององค์การอนามัยโลก ส่วนผู้ปกครองของเด็ก จะตอบแบบสอบถามที่จัดทําขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม ได้แก่ ลักษณะครอบครัว ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และอาชีพหลักของครอบครัว ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก จากนั้นทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและพฤติกรรมสุขภาพแต่ละตัวแปรกับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดคิดเป็นซี่และเป็นด้านต่อคนโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเปียร์สัน และอธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยในภาพรวมที่มีผลต่อสภาวะโรคฟันผุโดย ใช้สถิติการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมของครอบครัว ได้แก่ ลักษณะของครอบครัว ระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อครอบครัว และอาชีพหลักของครอบครัว กับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของเด็กทั้งที่คิด เป็นซี่ต่อคนและด้านต่อคน พบว่ามีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) เกือบทุกปัจจัย ยกเว้นปัจจัยด้านลักษณะ ครอบครัว ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครอง ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กกับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของเด็ก พบว่ามีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) เกือบทุก ปัจจัยเช่นกัน ยกเว้นปัจจัยด้านทัศนคติกับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดคิดเป็นด้านต่อคน สําหรับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ทางเศรษฐกิจ สังคม พบว่ามีเฉพาะปัจจัยด้านระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อครอบครัว และอาชีพหลักของ ครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนผลการ วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบเป็นขั้นตอน พบว่าปัจจัยพฤติกรรมด้านความรู้ของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กร่วมกับระดับรายได้ต่อครอบครัว สามารถอธิบายความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดได้ดีกว่า ปัจจัยพฤติกรรมด้านความรู้เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) โดยมีความสามารถในการ อธิบายคิดเป็นร้อยละ 9.5 (R = 0.095) สรุป ความรู้ของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กมีอิทธิพลเป็นปฏิภาคผูกผันกันกับการเกิดโรคฟันผุของเด็ก และหากผู้ปกครองมีระดับรายได้ที่สูงร่วมด้วย จะมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:261-72)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.31.2.13

First Page

261

Last Page

272

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.