•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2008-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อหาวิธีพิมพ์รากเทียมที่มีความเที่ยงตรงสูงสุด โดยศึกษาจากความคลาดเคลื่อนของแบบจําลอง ที่ได้จากวิธีพิมพ์รากเทียม 3 วิธี เมื่อเปรียบเทียบกับแม่แบบ วัสดุและวิธีการ แบบจําลองจํานวน 30 ชิ้น ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยใช้วิธีพิมพ์ คือ กลุ่มที่ 1 วิธีพิมพ์ดั้งเดิมที่ ระดับตัวหลัก กลุ่มที่ 2 วิธีพิมพ์โดยตรง และกลุ่มที่ 3 วิธีพิมพ์โดยตรงแบบเชื่อมตัวต่อยอดถ่ายทอดติดกับ ถาดพิมพ์ ทําการทดลองโดยสร้างแม่แบบที่มีรากเทียมฝังอยู่บนฐานโลหะสี่เหลี่ยม 2 ตัว ตัวหลักแต่ละตัวที่ติดอยู่ กับรากเทียมจะทําเครื่องหมายที่ขอบด้านบนเพื่อเป็นจุดอ้างอิง 3 จุด รวมเป็น 6 จุด ทําการพิมพ์ด้วยวัสดุพิมพ์ ซิลิโคน แอดดิชั่นแนล ด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วนําไปเทแบบจําลองด้วยปูนหินชนิดที่ 4 จากนั้นนําแบบจําลองเหล่านี้ไป วัดระยะทางของจุดอ้างอิงที่มีการเบี่ยงเบนไปเมื่อเทียบกับแม่แบบ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์สําหรับวัดขนาดที่ระดับ ความละเอียด 1/1000 มิลลิเมตร ซึ่งวัดในรูปพิกัด (x,y,z) เพื่อศึกษาทิศทางการเบี่ยงเบน และใช้ทฤษฎีปีทากอรัส เปลี่ยนพิกัดที่ได้เป็นระยะทางที่มีการเบี่ยงเบนไป แล้วจึงนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยสถิติ แทมเฮน ซึ่งแยกพิจารณาทีละจุดอ้างอิงทั้ง 6 จุด ผลการศึกษา แบบจําลองที่ได้จากวิธีพิมพ์ดั้งเดิมที่ระดับตัวหลัก มีการเบี่ยงเบนไปจากแม่แบบน้อยกว่าวิธีพิมพ์ โดยตรง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทั้ง 6 จุด (p = 0.001, < 0.001, < 0.001, 0.002, 0.003, < 0.001 ตามลําดับ) และน้อยกว่าวิธีพิมพ์โดยตรงแบบเชื่อมตัวต่อยอดถ่ายทอดติดกับถาดพิมพ์ (p < 0.001) ส่วนวิธีพิมพ์โดยตรงทั้ง แบบที่ทําการเชื่อมและไม่เชื่อมตัวต่อยอดถ่ายทอดเข้ากับถาดพิมพ์นั้น แบบจําลองที่ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติ (p = 0.446, 0.980, 0.212, 0.073, 0.08, 0.566 ตามลําดับ) สรุป วิธีพิมพ์ดั้งเดิมที่ระดับตัวหลัก จะให้แบบจําลองที่มีความเที่ยงตรงสูงที่สุด ส่วนวิธีพิมพ์โดยตรง การเชื่อมหรือไม่เชื่อมตัวต่อยอดถ่ายทอดเข้ากับถาดพิมพ์นั้นไม่มีผลกับความเที่ยงตรงของแบบจําลอง (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:223-34)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.31.2.10

First Page

223

Last Page

234

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.