Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2008-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อทําความเข้าใจ ความเชื่อและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับโรคฟันผุ ในเด็กปฐมวัย วัสดุและวิธีการ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และ การสัมภาษณ์เจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ 36 ราย ผลการศึกษา ผู้เลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่จะเลี้ยงเด็กด้วยนมแม่ ไม่นิยมใช้ขวดนม มีการเคี้ยวข้าวเหนียวป้อนเด็กและ ใช้อาหารเสริมซีรีแลค ชาวบ้านเชื่อว่าการบริโภคขนมเป็นเรื่องธรรมดาของเด็ก และเฉพาะลูกอมเท่านั้นที่ทําให้ ฟันผุ พฤติกรรมเหล่านี้มีที่มาจากบรรพบุรุษ สื่อโทรทัศน์ การบอกต่อกันของชาวบ้าน และจากคําแนะนําของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พฤติกรรมการเลี้ยงเด็กด้วยนมแม่ ไม่นิยมใช้ขวดนม ควรสนับสนุนให้คงอยู่ ความเชื่อว่า วิธีการให้นมไม่เป็นสาเหตุของฟันผุ การบริโภคขนมเป็นเรื่องธรรมดาของเด็ก ลูกอมเท่านั้นที่ทําให้ฟันผุ และ พฤติกรรมการเคี้ยวข้าวเหนียวป้อนเด็ก ควรได้รับการปรับเปลี่ยน ส่วนพฤติกรรมการใช้อาหารเสริมซีรีแลค ซึ่งไม่ ทราบผลที่มีต่อสุขภาพช่องปากอย่างชัดเจน ควรทําการศึกษาต่อ เพื่อหาข้อสรุปและใช้เป็นแนวทางการให้คําแนะนําในวงกว้าง สรุป การศึกษานี้ทําให้เกิดความเข้าใจถึงระบบคิดของชาวบ้าน สามารถใช้เป็นแนวทางในการกําหนดมาตรการที่ 4 ซึ่งสอดคล้องกับวิธีคิดและวิถีชีวิตของชาวบ้าน อันจะนําไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็กต่อไปเหมาะสม (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:69-86)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.31.1.7
First Page
69
Last Page
86
Recommended Citation
ล้อมสิริอุดม, วิภาพร and ไตรรัตน์วรกุล, ชุติมา
(2008)
"ความเชื่อและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 31:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.31.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol31/iss1/7