Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2008-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของไอระเหยของสารประกอบซัลเฟอร์ในผู้ป่วยจัดฟันไทย ก่อนและหลังการติดเครื่องมือชนิดติดแน่น วัสดุและวิธีการ ผู้ป่วยไทยที่มารับบริการจากคลินิกภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จํานวน 46 ราย (เพศชาย 16 ราย เพศหญิง 30 ราย อายุเฉลี่ย 18.5 + 5.3 ปี) ได้รับการวัดระดับ ความเข้มข้นของไอระเหยของสารประกอบซัลเฟอร์ในช่องปาก ซึ่งได้แก่ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เมทิลเมอแคปแทน และไดเมทิลซัลไฟด์ ก่อนและหลังการติดเครื่องมือชนิดติดแน่นไปแล้ว 4.5 + 0.7 เดือน ด้วยเครื่องตรวจวัดกลิ่นปาก ยี่ห้อออริลโครมา เปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของไอระเหยของสารประกอบซัลเฟอร์ก่อนและหลังการติดเครื่องมือ โดยใช้การทดสอบเชิงเครื่องหมายและลําดับที่แบบวิลคอกชัน ที่ระดับนัยสําคัญ .05 ผลการศึกษา ภายหลังการติดเครื่องมือชนิดติดแน่น ระดับความเข้มข้นของไดเมทิลซัลไฟด์และไอระเหยของ สารประกอบซัลเฟอร์รวม มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่าพี่เท่ากับ .019 และ 024 ตามลําดับ) แม้ว่า ไฮโดรเจนซัลไฟด์และเมทิลเมอแคปแทนมีค่าสูงขึ้น แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่าพี่เท่ากับ 102และ .342 ตามลําดับ) สรุป ระดับความเข้มข้นของไดเมทิลซัลไฟด์และไอระเหยของสารประกอบซัลเฟอร์รวม เพิ่มขึ้นหลังการติดเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:33-42)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.31.1.4
First Page
33
Last Page
42
Recommended Citation
เจริญพงศ์, หทัยชนก; ศิริชุมพันธ์, จินตนา; and เจริญวิทย์, สุคนธา
(2008)
"ระดับความเข้มข้นของไอระเหยของสารประกอบซัลเฟอร์ในผู้ป่วยจัดฟันไทยกลุ่มหนึ่งก่อนและหลังการติดเครื่องมือชนิดติดแน่น,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 31:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.31.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol31/iss1/4