Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2008-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบเครื่องสํารวจทางทันตกรรม ที่มีส่วนประกอบน้อยชิ้น และมีค่าใช้จ่ายการผลิตต่ําเพื่อเหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไทย วัสดุและวิธีการ ศึกษาผลิตภัณฑ์นําเข้าเพื่อใช้เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ จากนั้นสังเคราะห์แบบและสร้างเครื่องกล โดยใช้วัสดุที่มีการขึ้นรูปมาก่อนประกอบกับปรัชญาการออกแบบที่ทําให้การผลิต และทํางานง่ายขึ้น การลด จํานวนชิ้นส่วนและลดชิ้นส่วนที่ต้องสร้างเป็นการจําเพาะทําให้ค่าใช้จ่ายการผลิตลดลงมาก ผลการศึกษา แบบที่นําเสนอสําหรับใช้เพื่อการเรียนการสอนและการใช้ข้างเก้าอี้ทําฟันนี้ เป็นการประยุกต์ใช้โครงสร้างที่มีพอลิเมอร์เป็นส่วนประกอบหลัก ราคาขายต่ํากว่าผลิตภัณฑ์นําเข้าที่ใช้งานอย่างเดียวกันประมาณสิบห้าเท่า สรุป นวัตกรรมการออกแบบเป็นการผลิตเครื่องมือกลทางทันตกรรมที่ชิ้นส่วนต่าง ๆ ส่วนใหญ่หาได้ในประเทศไทย การประดิษฐ์นี้เป็นหนึ่งในความพยายามอย่างยากลําบาก ที่ต่อกรกับการนําเข้าผลิตภัณฑ์ และอาจช่วยลด รายจ่ายของชาติที่ใช้ซื้อเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีปานกลาง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ น่าจะเป็นการกระตุ้นนักประดิษฐ์และผู้ใช้ ให้ประจักษ์ต่อค่าของงานใหม่ที่แตกต่าง อันทรงคุณต่อการพึ่งพาตนเองเพื่อมาตุภูมิ (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:1-10)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.31.1.1
First Page
1
Last Page
10
Recommended Citation
จินดาวณิค, วิเชฏฐ์
(2008)
"เครื่องสํารวจทางทันตกรรม: นวัตกรรมงานออกแบบ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 31:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.31.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol31/iss1/1