Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2007-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ ความเครียดในการทํางานมีผลกระทบต่อคุณภาพบริการและความตั้งใจโยกย้ายงานของทันตบุคลากร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเครียดในการทํางานของทันตแพทย์ไทยและระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วัสดุและวิธีการ แบบแผนการวิจัยเป็นการสํารวจภาคตัดขวาง ดําเนินการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบจาก ทันตแพทย์ทั่วประเทศ ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์รวม 2 รอบ มีทันตแพทย์ส่งแบบสอบถามกลับคืน ซึ่งเป็น ทันตแพทย์ที่ยังปฏิบัติงานอยู่ จํานวน 733 คน ประเมินความเครียดของการทํางานทันตกรรมในรอบปี พ.ศ. 2547 ด้วยดัชนีความเครียดในหน้าที่การงาน ใช้เทคนิควิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอนประเมินปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการงาน ผลการศึกษา ทันตแพทย์ร้อยละ 31.7 มีความเครียดในการทํางานทันตกรรมตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป ผลการ วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปริมาณงานและความตั้งใจโยกย้ายงานมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับระดับความเครียดในทุกแบบจําลอง ขณะที่ความพึงพอใจต่อหน้าที่การงานมีความสัมพันธ์เชิงลบในทุก แบบจําลอง การปฏิบัติงานในภาคเอกชนมีความสัมพันธ์กับทุกมิติย่อยของดัชนีความเครียด แต่มีทิศทางทั้งบวก และลบ ปัจจัยอื่นที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด คือ จํานวนชั่วโมงปฏิบัติงาน และรายได้ สรุป การศึกษานี้ยืนยันถึงระดับความเครียดที่มีอยู่สูงในวิชาชีพทันตแพทย์ โดยเฉพาะในภาครัฐ แบบจําลอง ความเครียดสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของตัวแปรทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับองค์กร (ว ทันต จุฬาฯ 2550;302255-68)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.30.3.4
First Page
255
Last Page
268
Recommended Citation
ให้สงวน, ชาญชัย
(2007)
"ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ในหน้าที่การงานของทันตแพทย์ไทย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 30:
Iss.
3, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.30.3.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol30/iss3/4