Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2007-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียนต่อเชื้อสเตร็ปโต ค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ซึ่งมีส่วนในการก่อโรคฟันผุ และโรค ปริทันต์อักเสบ ตามลําดับ วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาโดยการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ สายพันธุ์ ATCC 25175 และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ สายพันธุ์ ATCC 43718 ในอาหารเลี้ยงเชื้อ ชนิดน้ําที่มีสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียน ความเข้มข้นต่าง ๆ (50 100 และ 150 มก./มล.) เป็น เวลา 1 5 10 20 30 และ 60 นาที นําไปเลี้ยงต่อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดวุ้นเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วจึงนับจํานวน เชื้อแบคทีเรียที่มีชีวิต เปรียบเทียบกับคลอร์เฮกซิตีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และอาหารเลี้ยงเชื้อที่ไม่ใส่สารสกัด ผลการศึกษา ในเวลา 1 นาที สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียนที่ความเข้มข้น 150 มก./มล. และ คลอร์เฮกซิดีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ในขณะที่สารสกัดที่ความเข้มข้น 100 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์และยับยั้งเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ตามลําดับ ส่วนสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด ในเวลา 60 นาที สรุป ในเวลา 1 นาที สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียนที่ความเข้มข้น 100 และ 150 มก./มล. สามารถฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ตามลําดับแสดงให้เห็นว่าสารสกัดชนิดนี้อาจพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์หลักในผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมเพื่อควบคุมโรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบ (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:235-44)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.30.3.2
First Page
235
Last Page
244
Recommended Citation
สลัดยะนันท์, ทัศนี; หงษ์ประสงค์, นวลฉวี; พงษ์สามารถ, สุนันท์; อภิณหสมิต, วันดี; and ธัญญะกิจไพศาล, พสุธา
(2007)
"สารพอลิแซ็กคาไรด์เจลสกัดจากเปลือกทุเรียน: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนและแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 30:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.30.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol30/iss3/2