Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2007-05-01
Abstract
ฟันเทียมติดแน่นชนิดเรซินบอนด์เป็นการใส่ฟันเชิงอนุรักษ์วิธีหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีหลายประการเมื่อเทียบ กับฟันเทียมติดแน่นแบบสัญนิยม อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่มักพบได้มากสําหรับฟันเทียมชนิดนี้คือการหลุด ของชิ้นงาน จึงมีการพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการยึดติด ได้แก่ การออกแบบโครงโลหะ การกรอแต่ง ฟัน องค์ประกอบของการยึดด้วยเรซินซีเมนต์ ซึ่งได้แก่การเลือกชนิดของโลหะผสม การปรับสภาพผิวโลหะ รวมทั้งวิธีการดัดแปลงการใช้ฟันเทียมชนิดนี้เพื่อให้ประสบผลสําเร็จทางคลินิกที่มากขึ้นในแบบต่าง ๆ เช่นการใช้หลักยึดข้างเดียวหรือการใช้วัสดุเรซินเสริมเส้นใยหรือใช้เซรามิกแทนโลหะผสมเพื่อความสวยงาม เพิ่มขึ้น จุดประสงค์ของบทความนี้เพื่อรวบรวมปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่ออายุการใช้งานทางคลินิกของ ฟันเทียมติดแน่นชนิดเรซินบอนด์ การดัดแปลงการออกแบบหรือวัสดุ รวมทั้งข้อดีข้อด้อยของแต่ละวิธีการเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ทันตแพทย์ในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย (ว ทันต จุฬาฯ 2550:30:189-204)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.9
First Page
189
Last Page
204
Recommended Citation
ตั้งงามสกุล, พรรณอุษา and ซาลิมี, ปรารมภ์
(2007)
"ฟันเทียมติดแน่นชนิดเรซินบอนด์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 30:
Iss.
2, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol30/iss2/9