Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2007-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการสึกของฟันเทียมอะคริลิกภายหลังการแปรงร่วมกับ ยาสีฟันประเภทต่างๆ และเป็นแนวทางแนะนําผู้ป่วยในการยืดอายุการใช้งานฟันเทียมจากการทําความสะอาด ซี่ฟันเทียมนั้น วัสดุและวิธีการ นําฟันหน้าเทียมอะคริลิก จํานวน 30 แผง มาแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามชนิดของยาสีฟันที่ใช้ขัด กลุ่มละ 6 แผงคือ กลุ่มที่ 1 ยาสีฟันควบคุมการเกิดคราบหินน้ําลาย กลุ่มที่ 2 ยาสีฟันลดคราบจุลินทรีย์ กลุ่มที่ 3 ยาสีฟันป้องกันฟันผุ กลุ่มที่ 4 ยาสีฟันทําให้ฟันขาว กลุ่มที่ 5 ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน นําแต่ละซี่ฟันเทียมไป ชั่งน้ําหนักก่อนแปรงด้วยเครื่องชั่งดิจิทัล จากนั้นยึดแต่ละซี่ฟันด้วยพลาสเตอร์หิน วัดความหยาบพื้นผิวก่อนแปรง ด้วยเครื่องโปรไฟโลมิเตอร์ แล้วจึงนําไปแปรงร่วมกับยาสีฟันในแต่ละกลุ่มด้วยเครื่องแปรงฟัน จํานวน 20,000 รอบ โดยแปรงครั้งละ 8 จนครบทุกซี่ จากนั้นนําฟันมาชั่งน้ําหนักและวัดความหยาบพื้นผิวหลังแปรง นําค่าเฉลี่ย ของผลต่างในแต่ละกลุ่มที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วย ครูสคัล-วาลิส ผลการศึกษา การสึกของฟันเทียมอะคริลิกหลังจากแปรงร่วมกับยาสีฟันที่มีคุณสมบัติต่างกัน มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.05) และพบว่าซี่ฟันเทียมที่แปรงร่วมกับยาสีฟันที่ทําให้ฟันขาวมีการสึกของฟัน มากที่สุด (∆Wwh= 4.10 ± 0.27 mg, ∆Rawh = 0.261 ± 0.064 ไมโครเมตร) สรุป ซี่ฟันเทียมอะคริลิกเมื่อแปรงร่วมกับยาสีฟันที่มีผงขัดมากหรือผงขัดหยาบ เช่น ยาสีฟันทําให้ฟันขาวนั้นจะ ทําให้มีการสึกของฟันมากที่สุด ดังนั้นเพื่อลดการหายไปของน้ําหนักเฉลี่ยของซี่ฟันเทียมและความหยาบพื้นผิว ฟันควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันดังกล่าวข้างต้นกับฟันอะคริลิกมากที่สุด (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:157-68)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.6
First Page
157
Last Page
168
Recommended Citation
แก้วปลั่ง, อรพินท์; ใจธีรภาพกุล, ปราณปรียา; ภาคยวงศ์, ณัฐกาญจน์; แจ้งเจนกิจ, รจน์สุพรรณ; and ทองสุข, สาวิตร
(2007)
"ผลของผงขัดที่ผสมในยาสีฟันต่อการสึกของซี่ฟันเทียมอะคริลิก,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 30:
Iss.
2, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol30/iss2/6