Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2007-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่เสริมเส้นใยอีสเตอร์ของสารไคโตซาน วัสดุและวิธีการ ทําการทดสอบความแข็งและค่ามอดูลัสของสภาพยืดหยุ่นของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันพรีโวแคร์ (คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไทย) และวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันพรีโวแคร์ที่เสริมเส้นใย วีสเกอร์ไคโตซานในปริมาณร้อยละ 3.3 5.0 และ 6.5 โดยน้ําหนัก โดยเครื่องทดสอบความแข็งในระดับนาโน (UMIS, ออสเตรเลีย) หลังจากนั้นนําวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันพรีโวแคร์และวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันพรีโวแคร์ที่มี สารไคโตซานในปริมาณร้อยละ 3.3 โดยน้ําหนัก มาทดสอบมาตรฐานไอเอสโอ 6874:1988 ของวัสดุเคลือบ หลุมร่องฟันชนิดเรซินในเรื่องความลึกของการแข็งตัวและความหนาของชั้นผิวที่ไม่แข็งตัว ทําการวิเคราะห์ ความแตกต่างของความแข็งและค่ามอดูลัสของสภาพยืดหยุ่นของวัสดุที่ทดสอบ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มของวัสดุที่นํามาทดสอบมาตรฐานไอเอสโอโดยการใช้สถิติอินดิเพนท์เดนท์ แซมเปิล ที- เทส ผลการศึกษา วัสดุพรีโวแคร์ที่มีสารไคโตซานในปริมาณร้อยละ 3.3 5.0 และ 6.5 โดยน้ําหนัก มีค่าความแข็ง ที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญกับกลุ่มควบคุม จึงเลือกวัสดุพรีโวแคร์ที่มีสารไคโตซานร้อยละ 3.3 มาทดสอบตามมาตรฐานไอเอสโอ ซึ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องค่าความลึกของการแข็งตัวและความหนา ของชั้นผิวที่ไม่แข็งตัวของวัสดุพรีโวแคร์และวัสดุพรีโวแคร์ที่มีสารไคโตซานร้อยละ 3.3 โดยน้ําหนัก สรุป วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่เสริมเส้นใยอีสเตอร์ของสารไคโตซานไม่ทําให้ความแข็งของวัสดุลดลง และมีคุณสมบัติผ่านมาตรฐานไอเอสโอ 6874:1988 (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:129-40)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.4
First Page
129
Last Page
140
Recommended Citation
ปาลเดชพงศ์, อสมา and พูลทอง, สุชิต
(2007)
"สมบัติทางกายภาพของวัสดุเคลือบหลุม ร่องฟันทีเสริมเส้นใยวีสเกอร์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 30:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol30/iss2/4